วันเสาร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560

NOK เพิ่มทุนรอบสอง

นกแอร์จะเพิ่มทุนรองสองอีก 1136 ล้านหุ้น ที่ราคา 1.50 บาท มีคำถามว่า ประการแรก ราคาที่เพิ่มทุนนี่แพงหรือไม่ ประการสอง สถานะทางการเงินเป็นอย่างไร

คำตอบต่อคำถามแรก ณ วันที่ 30/6/2560 นกแอร์มีส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ 520.06 ล้านบาท คาดว่าจะได้เงินจากการเพิ่มทุนราว 1,670 ล้านบาท รวมเป็น 2,190 ล้านบาท โดยมีจำนวนหุ้นที่ชำระแล้ว 2,272 ล้านหุ้น ดังนั้นมูลค่าหุ้นทางบัญชีก็เท่ากับ 0.96 บาท ราคาเพิ่มทุนที่ 1.50 บาท ดังนั้น P/BV จึงเท่ากับ 1.56 เท่า เมื่อเทียบกับสายการรายอื่น เช่น AAV, BA และ THAI ก็อยู่ที่ 1.44 , 1.44 และ 1.30 เท่าตามลำดับ ดังนั้น ราคาเพิ่มทุนที่ 1.50 บาทจึงเป็นราคาที่น่าจะเหมาะสม


คำตอบต่อคำถามที่สองว่า สถานะทางการเงินเป็นอย่างไรหลังเพิ่มทุนแล้ว ถ้าใช้หลักประเมินความเสี่ยงแนวโน้มที่นกแอร์จะล้มละลาย โดยใช้ วิธี Z-score ของ Altman จะพบว่า ถ้ายังไม่มีการปรับปรุงการทำงานเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย บริหารให้มีประสิทธิภาพมากกว่าปัจจุบัน ตัวเลขบอกว่า กำลังมุ่งหน้าสู่การล้มละลายอย่างแน่นอน


สรุปว่า สำหรับนกแอร์ ยังมีความเสี่ยงว่าจะบริหารให้กลับมาแจ๋วได้หรือไม่ แต่ที่แน่ๆราคาที่นายตลาดให้ไว้ที่ 5 บาทกว่าๆ นี่แพงไปมากทีเดียวที่จะลงทุน นักลงทุนที่กะจะถือยาวเป็นเจ้าของกิจการ ผมว่า น่าจะต้องรออีกสองไตรมาสแล้วดูว่า ผลการบริหารงานของ ซีอีโอ คนใหม่จะออกมาอย่างไร







วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

รถยนต์ไฟฟ้าน่าใช้ใหม

ของใหม่อีกอย่าง ที่ผมกำลังคิดว่า น่าใช้หรือเปล่า คือรถยนต์ไฟฟ้า สมมุติว่า ราคาคันละ 1.6 ล้านละกัน (ซึ่งปัจจุบัน ราคารถยนต์ไฟฟ้า ตกราวคันละ 8 ล้านบาท) มีคำถามว่า ต้องเจออะไรบ้าง เช่น ที่บ้านต้องเตรียมระบบไฟฟ้าเฉพาะสำหรับชาร์ตหรือไม่  แล้วจะเอารถไปต่างจังหวัดระยะสัก 700 กิโลเมตร ทำไง ฯลฯ ต้นทุนค่าชาร์ตที่ปั๊มเท่าไหร่ แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ามีขนาดราว 70 KWh การที่จะชาร์ตไฟให้เต็มในเวลากลางคืนแล้วนำรถไปใช้ในเวลากลางวัน วิ่งระยะไม่เกิน 270 กม. ที่ถนนที่รถไม่ติดหนัก น่าจะใช้กระแสไฟฟ้าราว 45 แอมแปร์ ซึ่งจะชาร์ตแบตเตอรี่เต็มในเวลาราว 8 ชั่วโมง นั่นก็หมายถึงที่บ้านต้องมีระบบไฟฟ้าออกแบบมาเพื่อรถนี้ด้วย

ส่วนที่สถานีบริการสำหรับชาร์ตไฟฟ้า ถามว่า มีต้นทุนเท่าไหร่
- ค่าพื้นที่ สมมุติว่า ตร.วาละ 20,000 บาทหรือ ตร.ม.ละ 5,000 บาท ที่จอดรถสำหรับชาร์ตแบตฯรถน่าจะใช้พื้นที่ราว 2.50 x 5.50 ตร.ม. เท่ากับ 13.75 ตร.ม. ต้นทุนค่าพื้นที่ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายคงที่จึงเท่ากับ 68,750 บาท
- ค่าอุปกรณ์ ตกราว 130,000 บาทต่อกิโลวัตต์ ถ้าหากต้องการชาร์ตเร็วน่าจะต้องใช้เครื่องชาร์ตที่มีขนาดราว 60 กิโลวัตต์ เพื่อที่จะชาร์ตให้เต็มในเวลา 75 นาที ซึ่งก็จะมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ประมาณ 7.8 ล้านบาท
- ค่าพนักงาน ตกวันละ 300 บาท หรือ ปีละ 109,500 บาท
- ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ราว 520,000 บาทต่อปี
- ต้นทุนค่าไฟฟ้า หน่วยละ 4.50 บาท
- สมมุติต้องการคืนทุนในเวลา 2 ปี โดยเฉลี่ยมีรถมาชาร์ตวันละ 10 คัน ซึ่งก็คือมีการใช้ที่ชาร์ตราว 12.5 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งหนึ่งปีก็จะมีรถมาใช้บริการ 3,650 คัน ต้นทุนก็ราว 1629 บาทต่อการชาร์ตแบตฯหนึ่งคัน
- สมมุติต้องการคืนทุนในเวลา 4 ปี ต้นทุนก็ตกราว 1090 บาทต่อการชาร์ตหนึ่งครั้ง

หากต้องการมีกำไร 25% ในเวลา 4 ปีนี้ ราคาการชาร์ตแบตฯต่อครั้งก็ตกราว 1454 บาท ซึ่งจะทำให้รถวิ่งได้ระยะทางราว 270-300 กิโลเมตร เปรียบเทียบกับการเติมน้ำมัน E20 ให้ราคาลิตรละ 25 บาท และรถยนต์วิ่งได้ระยะ 14.5 กิโลเมตรต่อลิตร จะได้ระยะประมาณ 840 กิโลเมตร







วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กรณี หุ้นKaloBios Pharmaceuticals Inc

KaloBios' shares soar after Turing's Shkreli boosts stake
Wed Nov 18, 2015 6:04pm EST
http://www.reuters.com/article/2015/11/18/us-kalobios-stocks-idUSKCN0T733Y20151118?type=companyNews#Su6oBpjiDEKRiRGM.97

KaloBios Pharmaceuticals Inc's (KBIO.O) shares surged more than seven-folds in extended trading after Turing Pharmaceuticals Inc's controversial CEO Martin Shkreli bought 1.2 million shares of the company that is about to wind down its operations.The shares were bought at prices ranging between 61 cents and $2.43 each on Monday and Tuesday, a regulatory filing showed on Wednesday.

Shkreli now owns 1.6 million shares, making him Kalobios' largest shareholder with a 39 percent stake. (1.usa.gov/1NEabzX)

Kalobios, which had 4.1 million outstanding shares as of August 7, said on Friday it was winding down its operations and liquidating assets. The company said it would discontinue development of two blood cancer drugs.

Shkreli became the symbol of price gouging in September after Turing Pharmaceuticals raised the price of an AIDS and cancer drug, Daraprim, from $13.50 to $750 a tablet. He later said he would lower the price.

Last month he said he bailed from a losing bet he made on Valeant Pharmaceuticals International Inc (VRX.TO) (VRX.N) after it was accused of accounting irregularities.
More than 5.5 million KaloBios' shares changed hands by 5.14 p.m. ET, over 5 times the stock's 10-day moving average. Up to Wednesday's close of $2.07, they have risen 130 percent over the last three days.


UPDATE 1-Shkreli leads group to buy 70 pct shares in KaloBios, named CEO
Read more at Reutershttp://www.reuters.com/article/2015/11/20/kalobios-ma-martin-shkreli-idUSL3N13F20M20151120#Kmfj7oBqFpBYDtTK.99

Nov 20 KaloBios Pharmaceuticals Inc said it appointed Martin Shkreli as chief executive after the controversial head of Turing Pharmaceuticals led a group of investors to buy 70 percent of the drug developer's outstanding shares.

Shkreli, who was also elected chairman of the KaloBios board, will work with the senior management to ensure continued operations, the company said in a statement late Thursday.

San Francisco-based KaloBios said earlier this month it was winding down its operations and liquidating assets and would discontinue development of two blood cancer drugs.

"We believe that KaloBios' lenzilumab is a very promising candidate for the treatment of various rare and orphan diseases," Shkreli said.


Shkreli and other investors have committed to an equity investment of at least $3 million in KaloBios and additionally to a $10 million equity financing facility, the company said.

He had bought 1.2 million KaloBios shares on Wednesday to raise his total stake to 39 percent.

Shkreli became the symbol of price gouging in September after Turing Pharmaceuticals drastically raised the price of Daraprim, a drug for treating a dangerous parasitic infection. He later said he would lower the price.

Note: lenzilumab - Immunoglobulin G1-kappa

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ประเมินมูลค่า PRAKIT หลังลงทุนโรงพยาบาล

ประการแรก

บริษัท การแพทย์ สุขุมวิท 62 จำกัด เพิ่งเพิ่มทุนเมื่อเดือน สิงหาคม ที่ผ่านมาเอง จาก 10 ล้านบาทเป็น 847.250 ล้านบาท และเงินลงทุน รวมทั้งหมด คือ ทั้งเงินกู้ และ เงินกู คือ 1800 ล้านบาท (เฉพาะต้นทุนทางการเงินก็ราว 40-50 ล้านบาทแล้ว)

ประการที่สอง
ผมประมาณการว่า คงเปิด โรงพยาบาลได้ราวอีก สองปี ข้างหน้า

ประการที่สาม
แถวนั้น มีโรงพยาบาลใกล้เคียงอยู่ด้วย

ประการที่สี่ Prakit ถือหุ้น บริษัท การแพทย์สุขุมวิท 62 จำกัด ซึ่งอยู่นอกตลาดที่ 35.41 %

ประการที่ห้า  รายได้จากการลงทุน บริษัท การแพทย์ สุขุมวิท 62 จำกัด จะอยู่ในรูป เงินปันผลรับ ถ้าเดาคราวๆว่า โรงพยาบาล สามารถทำ ROE ได้ราว 13 % และเงินปันผลจ่าย 50% ของกำไรสุทธิ ดังนั้น คำนวณคร่าวๆ ปี 61 (โรงพยาบาลน่าจะก่อสร้างเสร็จกลางปี 60 ) น่าจะได้เงินปันผล ประมาณ 20 ล้านบาท (847*0.13*0.50*0.3541) ในปีแรกที่ดำเนินงาน หลังจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้บริหารแล้ว

แต่อย่าลืม Prakit ไม่ใช่ โรงพยาบาลนะ เพราะถือหุ้นน้อยกว่า 50% สมมุติให้ค่า P/E 16 เท่า ดังนั้น ราคาหุ้น Prakit ที่จะเพิ่มจาก ธุรกิจโรงพยาบาลก็ราว  20/60*16 = 5.34 บาท

นี่ผมมองได้อย่างนี้แหละครับ

การลงทุนมีความเสี่ยง เลือกเสี่ยงด้วยตัวคุณเองครับ

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ยังเสี่ยง

เริ่มเข้าไตรมาส 4/58 ตลาดหุ้นไทยดูเหมือนจะดี นักลงทุนต่างมีความหวัง เพราะเมื่อมองดูกราฟช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนตุลาคม ตลาดหุ้นวิ่งขึ้นมาสวยงามทีเดียว อีกทั้งดูเหมือนว่า นักลงทุนต่างประเทศเริ่มกลับมาลงทุนมากขึ้น  แต่มีข่าวที่ทำให้ต้องระมัดระวังอยู่สองข่าว

ข่าวแรก
หัวเรื่อง : ถ้าคุณคิดว่า ฟองสบู่ตลาดหุ้นของจีนน่ากลัว ลองดูพันธบัตร
อ้างอิง : http://www.bloomberg.com/news/articles/2015-10-08/if-you-thought-china-s-equity-bubble-was-scary-check-out-bonds

โดยสรุปคือ ณ เวลานี้ราคาพันธบัตรวิ่งขึ้นไปจนสุงที่สุดในรอบ หกปี ทีเดียว ตลาดพันธบัตรจีนขนาด 42.2 ล้านล้านหยวน ( 6.7 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ) อยู่ในภาวะเสี่ยงเช่นเดียวกับตลาดหุ้นเมื่อสี่เดือนก่อน ทั้งนี้เป็นเพราะนักลงทุนหนีจากตลาดหุ้นไปลงทุนในตลาดพันธบัตรแทน และถ้าตลาดหุ้นฟื้นตัว เงินก็จะใหลกลับไปตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตรก็จะหดตัวลง

อีกสัญญาณเตือนคือ การกู้เงินของนักลงทุนเพิ่มขึ้น 83 % จากเดือนมกราคม มาอยู่ที่ 39 ล้านล้านหยวนในเดือนกันยายน


ข่าวที่สอง :ธนาคารกลางไม่สามารถช่วยโลกได้อีกแล้ว

http://www.reuters.com/article/2015/10/10/us-imf-cenbank-idUSKCN0S40VE20151010

รายงานโดยกลุ่ม 30 องค์กรระหว่างประเทศซึ่งนำโดยอดีตประธานธนาคารกลางยูโรป นาย ยอน คลาวด์ ไตรเชต เตือนเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า อัตราดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซนต์และการพิมพฺ์เงินไม่เพียงพอต่อการฟื้นตัวของการเติบโตของเศรษฐกิจและเสี่ยงต่อการเป็นมาตราการกึ่งถาวร

โดยบอกว่า สิ่งที่ธนาคารกลางทำเป็นเพียงการซื้อเวลา เพื่อให้รัฐบาลแก้ไขวิกฤต


วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เอลนีโญ



เอลนีโญ
 ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา  http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=17
ความนำ
เอลนีโญ เป็นคำที่ใช้เรียกปรากฏการณ์ธรรมชาติทางสมุทรศาสตร์ มีหลักฐานแสดงว่าเอลนีโญได้เกิดขึ้นนานนับพันปีมาแล้ว แม้แต่เอลนีโญที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2525 – 2526 ซึ่งรุนแรงมากก็ยังไม่ได้ถูกกล่าวขานว่าเป็นเอลนีโญจนกระทั่งปรากการณ์นี้ได้เกิดขึ้นแล้วหลายเดือน เนื่องจากปรากฏการณ์นี้เป็นต้นเหตุให้เกิดผลกระทบต่อภูมิอากาศของโลกอย่างรุนแรง เช่น อเมริกาเหนือประสบกับสภาพอากาศที่ผิดปกติอย่างมากตลอดปี 2526 ออสเตรเลียประสบกับสภาวะความแห้งแล้งมากและเกิดไฟป่าเผาผลาญ ประเทศใกล้ ๆ ทะเลทรายสะฮาราประสบกับความแห้งแล้งที่เลวร้ายมากที่สุดช่วงหนึ่ง และลมมรสุมในมหาสมุทรอินเดียอ่อนกำลังลงมาก ประมาณว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดอยู่ระหว่าง 8 - 13 พันล้านเหรียญสหรัฐ และสูญเสียชีวิตประมาณ 2,000 คน
ช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ได้มีการลงทุนจำนวนมากในการตรวจวัดอากาศและการวิจัยเพื่อเพิ่มพูนขีดความ สามารถในการพยากรณ์ปรากฏการณ์นี้ จนกระทั่ง 10 ปีสุดท้ายจึงได้มีความเข้าใจถึงการเกิดและการคงอยู่ของเอลนีโญ อย่างไรก็ตามเมื่อไม่นานมานี้ได้มีการใส่ความสัมพันธ์ระหว่างกันของบรรยากาศ และมหาสมุทรที่สลับซับซ้อนและจำนวนข้อมูลอันมหาศาลเข้าไปในแบบจำลองเพื่อทำ การพยากรณ์ ปรากฏการณ์เอลนีโญ
ใน ระยะหลังตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2515 เป็นต้นมา เอลนีโญได้เกิดบ่อยครั้งขึ้นและมีความรุนแรงมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา จึงสมควรที่จะทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ดังกล่าว โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรากฏการณ์เอลนีโญ ผลกระทบ และข่าวสารเกี่ยวกับปรากฏการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2540 – 2541 โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก แหล่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และศูนย์พยากรณ์ภูมิอากาศหลัก ๆ หลายศูนย์ เพื่อวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมถึงผู้มีอำนาจในการตัดสินใจด้านนโยบายได้ทราบถึงปัญหาที่เกิดจากปรากฏ การณ์เอลนีโญ

ความหมายของเอลนีโญ
เอ ลนีโญ มีความหมายแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มบุคคล ในภาษาสเปน คำว่าเอลนีโญ (el niño) หมายถึง เด็กชายเล็ก ๆ แต่หากเขียนนำด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ เอลนีโญ (El Niño) หมายถึง ทารกพระเยซูคริสต์ สำหรับชาวเปรูจะมีความหมายเพิ่มเติม คือ หมายถึงกระแสน้ำอุ่นที่ไหลเลียบชายฝั่งเปรูลงไปทางใต้ทุก 2 – 3 ปี หรือกว่านั้น และได้ตั้งชื่อกระแสน้ำอุ่นนี้ว่าเอลนีโญก่อนเริ่มศตวรรษที่ 20 โดยเริ่มรู้จักและสังเกตเห็นครั้งแรกประมาณปี ค.ศ. 1892 การที่ตั้งชื่อว่า เอลนีโญ เนื่องจากจะมีน้ำอุ่นปรากฏอยู่ตามชายฝั่งเปรูเป็นฤดู ๆ โดยเริ่มประมาณช่วงคริสต์มาส (ช่วงฤดูร้อนของซีกโลกใต้ ซึ่งตรงกับช่วงฤดูหนาวของซีกโลกเหนือ) น้ำอุ่นนี้จะไหลเข้าแทนที่น้ำเย็นที่อยู่ตามชายฝั่งเปรูนานประมาณ 2 – 3 เดือน (โดยปกติแล้วตามชายฝั่งเปรูจะมีน้ำเย็นปรากฏอยู่ ซึ่งเป็นผลมาจากขบวนการไหลขึ้นของน้ำเย็นจากใต้มหาสมุทรขึ้นมายังผิวน้ำ ซึ่งทำให้น้ำเย็นอันอุดมไปด้วยธาตุอาหารไหลขึ้นมายังผิวน้ำ)
บาง ครั้ง น้ำอุ่นที่ปรากฏเป็นระยะ ๆ ตามชายฝั่งประเทศเปรูและเอกวาดอร์ อาจจะคงอยู่นานเกินกว่า 2 – 3 เดือน ซึ่งบางครั้งอาจจะยาวนานข้ามไปปีถัดไป ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาชายฝั่งซึ่งเกี่ยวข้องกับปลา นกที่กินปลาเป็นอาหาร และกิจกรรมที่เกี่ยวกับการประมงและเกษตรกรรม ฝนที่ตกหนักเนื่องจากเอลนีโญทางเอกวาดอร์ใต้และเปรูเหนือบางครั้งทำให้เกิด ความเสียหายในหลาย ๆ เมือง
ประมาณกลางทศวรรษ 1970 มีคำจำกัดความเกี่ยวกับเอลนีโญมากมาย และประมาณปลายทศวรรษ 1990 หลายสิบคำจำกัดความของเอลนีโญตั้งแต่ง่าย ๆ จนถึงซับซ้อนปรากฏอยู่ในบทความและหนังสือด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไป ดังตัวอย่างของคำจำกัดความ เอลนีโญ คือ ช่วง 12 ถึง 18 เดือนที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลทางครึ่งซีกด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนอุ่นกว่าปกติ เป็นต้น เอลนีโญที่มีขนาดปานกลางหรือรุนแรงจะเกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ เฉลี่ยประมาณ 5 – 6 ปีต่อครั้ง
แม้ ว่าที่ผ่านมาเอลนีโญจะมีความหมายมากมาย แต่ความหมายอันเป็นที่รับรู้และเข้าใจกันโดยทั่วไปในปัจจุบันคือการอุ่นขึ้น อย่างผิดปกติของน้ำทะเลบริเวณตอนกลางและตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน ซึ่งเกิดจากการอ่อนกำลังลงของลมค้า (trade wind) คำจำกัดความของเอลนีโญแม้จะมีมากมายแต่ลักษณะบางอย่างซึ่งเป็นลักษณะปกติของ เอลนีโญจะปรากฏให้เห็น คือ
·      การอุ่นขึ้นผิดปกติของผิวน้ำทะเล
·      กระแสน้ำอุ่นที่ไหลลงทางใต้ตามชายฝั่งประเทศเปรู
·      เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่สูงขึ้นทางด้านตะวันออก และตอนกลางของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร
·      ปรากฏตามชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์ และเปรูเหนือ (บางครั้งประเทศชิลี)
·      เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเล
·      เกิดร่วมกับการอ่อนกำลังลงของลมค้าที่พัดไปทางทิศตะวันตกบริเวณแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร
·      เวียนเกิดซ้ำแต่ช่วงเวลาไม่สม่ำเสมอ 
·      เกิดแต่ละครั้งนาน 12 – 18 เดือน
การเกิดเอลนีโญ
ตาม ปกติเหนือน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนหรือมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรจะ มีลมค้าตะวันออกพัดปกคลุมเป็นประจำ ลมนี้จะพัดพาผิวหน้าน้ำทะเลที่อุ่นจากทางตะวันออก (บริเวณชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์ เปรู และชิลีตอนเหนือ) ไปสะสมอยู่ทางตะวันตก (ชายฝั่งอินโดนีเซีย และออสเตรเลีย) ทำให้บรรยากาศเหนือบริเวณแปซิฟิกตะวันตกมีความชื้นเนื่องจากขบวนการระเหย (Glantz, 2001) และมีการก่อตัวของเมฆและฝนบริเวณตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย รวมทั้งประเทศต่าง ๆ ที่เป็นเกาะอยู่ในแปซิฟิกตะวันตก (รูปที่ 1) ขณะที่ทางตะวันออกของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรมีการไหลขึ้นของน้ำเย็นระดับล่าง ขึ้นไปยังผิวน้ำและทำให้เกิดความแห้งแล้งบริเวณชายฝั่งอเมริกาใต้ แต่เมื่อลมค้าตะวันออกมีกำลังอ่อนกว่าปกติ ลมที่พัดปกคลุมบริเวณด้านตะวันออกของปาปัวนิวกินี (ปาปัวนิวกินี คือ เกาะที่ตั้งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรทางแปซิฟิกตะวันตกเหนือทวีปออสเตรเลีย) จะเปลี่ยนทิศทางจากตะวันออกเป็นตะวันตก ทำให้เกิดคลื่นใต้ผิวน้ำพัดพาเอามวลน้ำอุ่นที่สะสมอยู่บริเวณแปซิฟิกตะวันตก ไปแทนที่น้ำเย็นทางแปซิฟิกตะวันออก เมื่อมวลน้ำอุ่นได้ถูกพัดพาไปถึงแปซิฟิกตะวันออก (บริเวณชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์) ก็จะรวมเข้ากับผิวน้ำ ทำให้ผิวหน้าน้ำทะเลบริเวณนี้อุ่นขึ้นกว่าปกติ และน้ำอุ่นนี้จะค่อย ๆ แผ่ขยายพื้นที่ไปทางตะวันตกถึงตอนกลางของมหาสมุทร ส่งผลให้บริเวณที่มีการก่อตัวของเมฆและฝนซึ่งปกติจะอยู่ทางตะวัน ตกของมหาสมุทรเปลี่ยนแปลงไปอยู่ที่บริเวณตอนกลางและตะวันออก (รูปที่ 2) บริเวณดังกล่าวจึงมีฝนตกมากกว่าปกติ ในขณะที่แปซิฟิกตะวันตกซึ่งเคยมีฝนมากจะมีฝนน้อยและเกิดความแห้งแล้ง
 
 
การเกิดเอลนีโญส่วนมากน้ำที่อุ่นผิดปกติจะปรากฏครั้งแรกบริเวณชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์และเปรูในเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม แต่เอลนีโญที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งอาจจะแตกต่างไปจากรูปแบบปกติดังกล่าวนี้ได้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดเช่นนี้เสมอไป ดังตัวอย่างเช่น เอลนีโญปี พ.ศ. 2525 – 2526 อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งอเมริกาใต้เริ่มอุ่นขึ้นช้ากว่ารูปแบบปกติหลายเดือน (Glantz et al., 1987)
การตรวจจับเอลนีโญ
จาก เอลนีโญขนาดรุนแรงในปี 2525 – 2526 ทำให้เกิดแผนความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อติดตาม ตรวจวัดและวิจัยปรากฏการณ์เอลนีโญขึ้น คือแผนงานมหาสมุทรเขตร้อนและบรรยากาศโลก (Tropical Ocean and Global Atmosphere – TOGA) ซึ่งได้ดำเนินการระหว่างปี 2528 - 2537 ภายใต้แผนงานการวิจัยภูมิอากาศโลก จากการศึกษาและวิจัยของ TOGA พบว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนตรวจจับได้จากหลายวิธี รวมถึงจากดาวเทียม ทุ่นลอยที่อยู่กับที่ ทุ่นลอยที่เคลื่อนที่ การวิเคราะห์ระดับน้ำทะเล เป็นต้น ระบบการตรวจวัดเพื่อการวิจัยนี้ปัจจุบันได้เข้าสู่ระบบการตรวจวัดภูมิอากาศ ทางภาคปฎิบัติแล้ว โดยข้อมูลจากระบบการตรวจวัดภูมิอากาศนี้ได้ใช้ป้อนเข้าไปในแบบจำลองระหว่าง บรรยากาศและมหาสมุทรของโลกเพื่อทำการคาดหมายเอลนีโญ ส่วนแบบจำลองอื่น ๆ ได้ใช้ในการวิจัยเพื่อให้เข้าใจถึงเอลนีโญได้ดีและมากยิ่งขึ้น สำหรับการคาดหมายนั้นมักจะใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ซึ่งปัจจุบันมีหลายหน่วย งานที่ทำการคาดหมายการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ เช่น ศูนย์พยากรณ์ภูมิอากาศ ประเทศสหรัฐอเมริกา และหน่วยงานอุตุนิยมวิทยา ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
ขนาดของเอลนีโญ
 ดัชนีชี้วัดขนาดของเอลนีโญที่สำคัญและชัดเจนที่สุดตัวหนึ่ง คือ อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นไม่ว่าจะทางตะวันออกหรือตอนกลางของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร อุณหภูมิยิ่งสูงกว่าปกติมากเท่าไร ปรากฏการณ์ยิ่งรุนแรงมากเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากรูปที่ 3 ซึ่งแสดงอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่ต่างจากปกติในช่วงเอลนีโญที่รุนแรงมาก 2 ครั้ง คือ เมื่อ พ.ศ. 2525 – 2526 และ พ.ศ. 2540 – 2541
นัก วิทยาศาสตร์ได้แบ่งขนาดของเอลนีโญออกเป็น อ่อนมาก อ่อน ปานกลาง รุนแรง หรือรุนแรงมาก จากการศึกษาของ Quinn et al. (1987, p.14453) กล่าวไว้ว่า ปรากฏการณ์ยิ่งมีความรุนแรงมากเท่าไร ปริมาณความเสียหาย การถูกทำลาย และมูลค่าความเสียหายยิ่งสูงมากเท่านั้นพวกเขาได้อธิบายถึงความรุนแรงโดยผนวกเอาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของมหาสมุทร กับผลกระทบที่เกิดขึ้นบนพื้นทวีปเข้าด้วยกันดังนี้
·  ขนาดรุนแรงมาก ปริมาณฝนสูงมากที่สุด มีน้ำท่วม และเกิดความเสียหายในประเทศเปรู มีบางเดือนในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงของซีกโลกใต้ที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งสูงกว่าปกติมากกว่า 7 o ซ.
·  ขนาดรุนแรงปริมาณฝนสูงมาก มีน้ำท่วมตามบริเวณชายฝั่ง มีรายงานความเสียหายในประเทศเปรู มีหลายเดือนในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงของซีกโลกใต้ที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเล บริเวณชายฝั่งสูงกว่าปกติ 3 – 5 o ซ.
·  ขนาดปานกลางปริมาณฝนสูงกว่าปกติ มีน้ำท่วมตามบริเวณชายฝั่ง ความเสียหายที่เกิดขึ้นในประเทศเปรูอยู่ในระดับต่ำ โดยทั่ว ๆ ไปอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงในซีกโลกใต้จะสูงกว่าปกติ 2 – 3 o ซ.
นอก จากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่นำมาใช้กำหนดขนาดของเอลนีโญ ซึ่งรวมถึงตำแหน่งของแอ่งน้ำอุ่น (warm pool) ในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร บริเวณพื้นผิวมหาสมุทรซึ่งปกคลุมด้วยแอ่งน้ำอุ่นที่ผิดปกติ หรือความลึก (ปริมาตร) ของแอ่งน้ำอุ่นนั้น ยิ่งแอ่งน้ำอุ่นมีอาณาบริเวณกว้างและมีปริมาตรมากปรากฏการณ์จะยิ่งมีความ รุนแรงเพราะจะมีความร้อนมหาศาลซึ่งจะมีผลต่อบรรยากาศเหนือบริเวณนั้น ในกรณีที่เอลนีโญมีกำลังอ่อนบริเวณน้ำอุ่นมักจะจำกัดวงแคบอยู่เพียงแค่ชาย ฝั่งตะวันตกของอเมริกาใต้ แต่กรณีเอลนีโญขนาดรุนแรงบริเวณที่มีน้ำอุ่นผิดปกติจะแผ่กว้างปกคลุมทั่ว ทั้งตอนกลางและตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร
สถิติการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ
ในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 – 2543) มีปรากฏการณ์เอลนีโญเกิดขึ้น 15 ครั้ง ดังนี้
Despulator005.jpg
ผลกระทบของเอลนีโญ
 ใน ช่วงที่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ การก่อตัวของเมฆและฝนเหนือน่านน้ำบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะลดลง (Wright et al., 1985) และจะขยับไปทางตะวันออก ทำให้บริเวณตอนกลางและตะวันออกของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร รวมทั้งประเทศเปรูและเอกวาดอร์มีปริมาณฝนมากกว่าค่าเฉลี่ย (Rasmusson and Carpenter, 1982) ขณะที่มีความแห้งแล้งเกิดขึ้นที่นิวกินี (Nicholls, 1974) และอินโดนีเซีย (Quinn et al., 1978) อีกทั้งบริเวณเขตร้อนของออสเตรเลีย (พื้นที่ทางตอนเหนือ) มักจะเริ่มฤดูฝนล่าช้า (Nicholls, 1984) นอกจากพื้นที่บริเวณเขตร้อนแล้วเอลนีโญยังมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับความ ผิดปกติของภูมิอากาศในพื้นที่ซึ่งอยู่ห่างไกลด้วย เช่น ความแห้งแล้งทางตอนใต้ของแอฟริกา จากการศึกษาเอลนีโญที่เคยเกิดขึ้นในอดีตนักวิทยาศาสตร์พบว่าในฤดูหนาวและฤดู ร้อนของซีกโลกเหนือ (ระหว่างเดือนธันวาคม กุมภาพันธ์ และ เดือนมิถุนายน สิงหาคม) รูปแบบของฝนและอุณหภูมิหลายพื้นที่ผิดไปจากปกติ เช่น ในฤดูหนาวบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของแอฟริกาและตอนเหนือของประเทศบราซิลแห้ง แล้งผิดปกติ ขณะที่ทางตะวันตกของแคนาดา อลาสก้า และตอนบนสุดของอเมริกามีอุณหภูมิสูงผิดปกติ ส่วนบางพื้นที่บริเวณกึ่งเขตร้อนของอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ (บราซิลตอนใต้ถึงตอนกลางของอาร์เจนตินา) มีฝนมากผิดปกติ (รูปที่ 4)
Despulator006.jpg
นอก จากเอลนีโญจะมีผลกระทบต่อรูปแบบของฝนและอุณหภูมิแล้วยังมีอิทธิพลต่อการเกิด และการเคลื่อนตัวของพายุหมุนเขตร้อนอีกด้วย โดยปรากฏการณ์เอลนีโญไม่เอื้ออำนวยต่อการก่อตัวและการพัฒนาของพายุหมุนเขต ร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้พายุหมุนเขตร้อนในบริเวณดังกล่าวนี้ลดลง ในขณะที่บริเวณด้านตะวันตกของประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกามีพายุพัดผ่าน มากขึ้น ส่วนพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตกที่มีการก่อตัวทาง ด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์มักมีเส้นทางเดินของพายุขึ้นไปทางเหนือ มากกว่าที่จะเคลื่อนตัวมาทางตะวันตกผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้
ผลกระทบของเอลนีโญต่อปริมาณฝนและอุณหภูมิในประเทศไทย
จาก การศึกษาสภาวะฝนและอุณหภูมิของประเทศไทยในปีเอลนีโญ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ค่า composite percentile ของปริมาณฝน และ composite standardized ของอุณหภูมิในปีเอลนีโญ จากข้อมูลปริมาณฝนและอุณหภูมิรายเดือน ในช่วงเวลา 50 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ถึง 2543 พบว่า ในปีเอลนีโญปริมาณฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่ต่ำกว่าปกติ (rainfall Index น้อยกว่า 50) โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝน และพบว่าเอลนีโญขนาดปานกลางถึงรุนแรงมีผลกระทบทำให้ปริมาณฝนต่ำกว่าปกติมาก ขึ้น สำหรับอุณหภูมิ ปรากฏว่าสูงกว่าปกติทุกฤดูในปีเอลนีโญ โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝน และสูงกว่าปกติมากขึ้นในกรณีที่เอลนีโญมีขนาดปานกลางถึงรุนแรง อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าในช่วงกลางและปลายฤดูฝน ไม่สามารถหาข้อสรุปเกี่ยวกับสภาวะฝนในปีเอลนีโญได้ชัดเจน นั่นคือ ปริมาณฝนของประเทศไทยมีโอกาสเป็นไปได้ทั้งสูงกว่าปกติและต่ำกว่าปกติหรือ อาจกล่าวได้ว่าช่วงกลางและปลายฤดูฝนเป็นระยะที่เอลนีโญมีผลกระทบต่อปริมาณฝน ของประเทศไทยไม่ชัดเจน
จากผลการศึกษาพอสรุปได้กว้าง ๆ ว่าหากเกิดเอลนีโญ ปริมาณฝนของประเทศไทยมีแนวโน้มว่าจะต่ำกว่าปกติ โดยเฉพาะฤดูร้อนและต้นฤดูฝน ในขณะที่อุณหภูมิของอากาศจะสูงกว่าปกติ เฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เอลนีโญมีขนาดรุนแรง ผลกระทบดังกล่าวจะชัดเจนมากขึ้น
ข่าวสารเกี่ยวกับเอลนีโญ พ.ศ. 2540 – 2541
1. สภาวะทั่วไปของเอลนีโญ พ.ศ. 2540 – 2541
 เอ ลนีโญที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2540 – 2541 เป็นปรากฏการณ์ที่รุนแรงที่สุดที่เคยมีการตรวจวัดมา มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีอุณหภูมิที่สูงกว่าทุกครั้ง เอลนีโญครั้งนี้พัฒนารวดเร็วมากทั่วทั้งตอนกลางและตะวันออกของมหาสมุทร แปซิฟิกเขตร้อนช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2540 และได้มีกำลังแรงสูงที่สุดในเดือนมิถุนายน 2540 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2540 เอลนีโญนี้มีกำลังแรงยิ่งกว่าเอลนีโญที่เกิดในปี พ.ศ. 2525 – 2526 โดยมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่สูงกว่าปกติทั่วทั้งตอนกลางและตะวันออกของ แปซิฟิก 2 – 5 o ซ. อุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงเกินกว่า 28 o ซ. ทั่วทั้งตอนกลางของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรโดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2540
ประมาณ วันที่ 8 มกราคม 2541 ปริมาตรของบริเวณแอ่งน้ำอุ่นลดลงไปประมาณ 40 เปอร์เซนต์นับตั้งแต่ที่มีปริมาตรสูงสุดตอนต้นเดือนพฤศจิกายน 2540 แต่อย่างไรก็ตามพื้นที่ผิวหน้าแอ่งน้ำอุ่นในแปซิฟิกก็ยังมีอาณาบริเวณกว้าง ขนาดประมาณ 1.5 เท่าของประเทศสหรัฐอเมริกา แอ่งน้ำอุ่นนี้มีพลังงานมหาศาลจนกระทั่งผลกระทบต่อรูปแบบของภูมิอากาศโลกยัง คงปรากฏต่อเนื่องไปจนถึงกลางปี 2541 ผลกระทบด้านความร้อนของเอลนีโญนี้เป็นตัวการหลักที่ทำให้อุณหภูมิผิวพื้น เฉลี่ยทั่วโลกในปี พ.ศ. 2540 สูงกว่าค่าเฉลี่ย 30 ปี (พ.ศ. 2503 – 2533) ประมาณ 0.44 oซ. และในปี 2541 ปรากฏว่าอุณหภูมิผิวพื้นโลกยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยและสูงมากกว่าปี 2540 จึงนับว่าปี พ.ศ. 2541 เป็นปีที่ร้อนที่สุดในศตวรรษที่ 20
ได้ มีการกล่าวว่าไฟป่าที่เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซียและก่อให้เกิดหมอกควันไฟ ปกคลุมบางบริเวณของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2540 นั้น เป็นส่วนหนึ่งจากผลกระทบของเอลนีโญ
2.  ผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญในปี พ.ศ. 2540
(2.1) ภูมิภาคที่ได้รับความแห้งแล้ง
 ตอนเหนือและตะวันออกของออสเตรเลีย ช่วงเดือนเมษายน พฤศจิกายน 2540 บริเวณตอนเหนือและตะวันออกของทวีปมีฝนรวมต่ำกว่าค่าปกติ ทำให้เกิดความแห้งแล้งทั่วบริเวณ ประกอบกับช่วงเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปมีอุณหภูมิสูงกว่าค่าปกติ จึงก่อให้เกิดไฟป่าขึ้นในบริเวณรัฐวิคตอเรียและนิวเซ้าต์เวลส์เป็นเวลาหลายสัปดาห์
ตอนใต้ของแอฟริกาตะวันตก มีฝนต่ำกว่าปกติตั้งแต่เดือนกรกฎาคมพร้อมกับฤดูฝนได้เริ่มช้ากว่าปกติ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณที่ได้รับความแห้งแล้งมากโดยเฉพาะช่วงเดือนพฤษภาคมตุลาคม ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไนและปาปัวนิวกินี และได้เกิดไฟป่าในอินโดนีเซีย และรัฐซาราวัคของมาเลเซียตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงปลายปี 2540 บริเวณอื่น ๆ ที่ได้รับความแห้งแล้งคือ ประเทศไทย บางส่วนของพม่า ลาว เขมรและเวียดนาม
สหรัฐอเมริกาตะวันออก แห้งแล้งช่วงเดือนเมษายน ตุลาคม ต่อจากนั้นเป็นฤดูหนาวที่หนาวน้อย
อเมริกากลาง มีสภาพอากาศแล้งปกคลุมช่วงเดือนมิถุนายน ตุลาคม
ตอนเหนือของอเมริกาใต้ มีอากาศร้อนและแห้งแล้งในช่วงครึ่งหลังของปี

(2.2) ภูมิภาคที่ได้รับฝนมากหรือน้ำท่วม
คาบสมุทรอินเดีย มีฝนตกชุกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมต่อเนื่องเกือบตลอดจนถึงสิ้นปี บริเวณนี้ ได้แก่ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ เนปาลและศรีลังกา
แอฟริกาตะวันออก ได้รับฝนชุกมากในช่วงตุลาคมธันวาคม ทำให้เกิดน้ำท่วมหนักโดยเฉพาะบริเวณประเทศเคนยา อูกานดา รวันดาและตอนเหนือของแทนซาเนีย
อเมริกาใต้ ตอนกลางและตอนใต้ของอเมริกาใต้ส่วนมากมีฝนสูงกว่าค่าปกติมากช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิ้นปี บางบริเวณของชิลีตอนกลางได้รับฝนภายใน 1 วัน เท่ากับปริมาณฝนรวมเฉลี่ยของทั้งปี และบริเวณชายฝั่งทางใต้ของเอควาดอร์และทางเหนือของเปรู ได้รับฝนชุกมากและก่อให้เกิดน้ำท่วมช่วงเดือนพฤศจิกายนธันวาคม
อเมริกาเหนือ มีฝนตกชุกและเกิดน้ำท่วมเป็นบางบริเวณจากทางรัฐแคลิฟอร์เนียพาดไปทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาถึงบริเวณรัฐฟลอริดาในระยะครึ่งหลังของปี 2540
(2.3) ผลกระทบที่มีต่อการเกิดพายุหมุนเขตร้อน
พายุ หมุนเขตร้อน คือพายุที่ก่อตัวเหนือมหาสมุทรในเขตร้อน มีความรุนแรง 3 ระดับคือพายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อนและไต้ฝุ่น (ถ้าเกิดทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือและในทะเลจีนใต้เรียกไต้ฝุ่น แต่ถ้าเกิดในมหาสมุทรแอตแลนติคเหนือจะเรียกว่าพายุเฮอร์ริเคน)
มหาสมุทรแอตแลนติค เอลนีโญทำให้พายุที่มีความรุนแรงระดับพายุโซนร้อนและพายุเฮอร์ริเคนที่เกิด ทางเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติคมีจำนวนลดลงค่อนข้างชัดเจน โดยในปี พ.ศ. 2540 มีพายุโซนร้อนเกิดขึ้น 7 ลูก (ปกติประมาณ 9 ลูก) และที่รุนแรงเป็นพายุเฮอร์ริเคนจำนวน 3 ลูก (ปกติประมาณ 6 ลูก) และโดยรวมแล้วพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นในฤดูพายุหมุนเขตร้อนในแอตแลนติ คเหนือ ปี 2540 เกิดขึ้นเพียง 52 % ของค่าปกติเท่านั้น ผลกระทบของเอลนีโญต่อการเกิดพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติคปรากฏชัดที่ สุดระหว่างเดือนสิงหาคมตุลาคม เมื่อมีเพียงจำนวน 3 ลูก ที่ได้ก่อตัวขึ้นในช่วงนี้
ด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เอลนีโญช่วยเอื้อต่อการก่อตัวพร้อมกับขยายพื้นที่ของการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนทางด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ในปี 2540 ได้เกิดพายุโซนร้อนจำนวน 17 ลูก (ปกติ 16 ลูก) ที่รุนแรงถึงระดับเป็นพายุเฮอร์ริเคนจำนวน 9 ลูก (ปกติ 9 ลูก) และเป็นพายุเฮอร์ริเคนที่รุนแรงมากจำนวน 7 ลูก (ปกติ 5 ลูก) นอกจากนี้พื้นที่ที่เกิดพายุหมุนเขตร้อนได้แผ่ขยายกว้างออกไปจากปกติ โดยมีจำนวน 4 ลูก ที่ได้ก่อตัวและเคลื่อนตัวทางตะวันตกของเส้นแวง 135 องศาตะวันตก และมีพายุเฮอร์ริเคนที่รุนแรงจำนวน 2 ลูก ทำความเสียหายให้กับทวีปอเมริกาเหนือ
ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ พายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นในบริเวณนี้ในปี 2540 มีรูปแบบและลักษณะที่ผิดปกติมาก โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวคือ พายุมักจะมีเส้นทางการเคลื่อนตัวขึ้นไปในแนวทิศเหนือมากกว่าที่จะเคลื่อนมา ทางตะวันตกผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้ จึงทำให้พายุที่พัดผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้มีจำนวนน้อยกว่าปกติ มาก ขณะที่มีพายุไต้ฝุ่นจำนวน 2 ลูกเคลื่อนเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นเร็วกว่าปกติในเดือนมิถุนายน สำหรับประเทศจีนฤดูพายุหมุนเขตร้อนเกิดล่าช้ามาก และเป็นกรณีที่เกิดได้น้อยที่มีพายุหมุนเขตร้อน (พายุไต้ฝุ่น ลินดา”) เคลื่อนผ่านปลายแหลมญวนและภาคใต้ของประเทศไทยในตอนต้นเดือนพฤศจิกายน 2540 ซึ่งพายุลูกนี้ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของทางใต้ของ เวียดนามเป็นอย่างมาก จากการที่จำนวนพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์มีน้อย จึงทำให้ฟิลิปปินส์ประสบกับความแห้งแล้ง และยังส่งผลถึงประเทศใกล้เคียงเช่นเวียดนามและไทยด้วย เนื่องจากพายุที่เคลื่อนผ่านฟิลิปปินส์จะมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่เวียดนามและ ไทยได้ในเวลาต่อมา หลาย ๆ ลักษณะที่กล่าวมาก็ได้เกิดขึ้นในช่วงปีเอลนีโญ 2525 – 2526 ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้อย่างสูงว่ารูปแบบการเกิดของพายุหมุนเขตร้อน ในปี 2540 เกี่ยวข้องกับการขยับตัวไปของการหมุนเวียนของอากาศในภูมิภาคนี้ ซึ่งสัมพันธ์กับปรากฏการณ์เอลนีโญ
1. ผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญในปี พ.ศ. 2541 (ช่วงเดือนมกราคม มีนาคม)

1. ภูมิภาคที่มีอุณหภูมิสูงหรือฝนน้อยกว่าปกติ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม เขมร มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซียและบรูไน มีอุณหภูมิสูงกว่าค่าปกติตลอดทั้งช่วง 3 เดือน พร้อมกับมีฝนต่ำกว่าค่าปกติบริเวณประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไนและฟิลิปปินส์
ทวีปออสเตรเลีย บริเวณด้านตะวันออก ตะวันตก และบางพื้นที่ทางตอนกลางของออสเตรเลียได้รับฝนต่ำกว่าค่าปกติค่อนข้างมากในช่วงมกราคมมีนาคม ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนน้ำโดยเฉพาะตามบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ
เอเชียตะวันออก ด้านตะวันออกของประเทศจีนต่อเนื่องถึงประเทศเกาหลีเหนือและใต้รวมทั้งประเทศญี่ปุ่น มีอุณหภูมิสูงกว่าค่าปกติในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม
ตอนเหนือของอเมริกาใต้ มีอุณหภูมิสูงและฝนต่ำกว่าค่าปกติตลอดทั้งช่วง
ตอนใต้ของแอฟริกาตะวันตก ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม มีอุณหภูมิสูงและฝนต่ำกว่าค่าปกติ
เกาะมาดากัสการ์ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม มีอุณหภูมิสูงและฝนต่ำกว่าค่าปกติ
ยุโรปตะวันตก มีอุณหภูมิสูงและฝนต่ำกว่าค่าปกติในเดือนกุมภาพันธ์มีนาคม
2. ภูมิภาคที่มีอุณหภูมิต่ำหรือฝนมากกว่าปกติ
อุรุกวัยและอาร์เจนตินา มีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติและมีฝนตกหนักในประเทศอุรุกวัยต่อเนื่องถึงทางเหนือของอาร์เจนตินาในเดือนมกราคม ส่วนเดือนกุมภาพันธ์มีอุณหภูมิต่ำและฝนตกหนักทางเหนือของอาร์เจนตินา
สหรัฐอเมริกา ในเดือนมกราคมมีฝนตกหนักทางด้านตะวันออกลงไปถึงทางใต้ของประเทศ และในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม บริเวณฝนหนักได้เพิ่มพื้นที่ขึ้นคือ พาดจากทางตะวันตก ทางใต้ ไปถึงทางตะวันออก
 เอกสารอ้างอิง
Glantz, M., Katz R., and Maria Krenz, 1987. The Societal Impacts Associated with the 1982 – 1983 Worldwide Climate Anomalies. Environmental and Societal Impacts Group, National Center for Atmospheric Research, Colorado, U.S.A.
Glantz, M.H., 2001. Currents of Change : Impacts of El Niño and La Niña on Climate and Society. 2nd edition, Cambridge University Press.
Japan Meteorological Agency 1998. Monthly Report on Climate System. No. 98-01, No. 98-02 and No. 98-03
Jim Laver 1998. Prediction and Monitoring Products of the Climate Prediction Center (CPC). (preparing for workshop on seasonal climate prediction, Singapore, Feb. 9-10, 1998) NCEP. NOAA.
WMO 1997. El Niño Briefing Package. 17 December.
1997. El Niño Update. December.
1997. El Niño Update. No. 2 (December 1997).
1998. El Niño Update. No 3 (January 1998).
กรมอุตุนิยมวิทยา9 มกราคม 2546

เพิ่มเติม รูปลมสินค้า (Trade Wind)
ที่มา : วิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2