วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557

SAPPE

ภาพรวมการประกอบธุรกิจของบริษัท
ที่มา : หนังสือชี้ชวน

บริษัทประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และเครื่องดื่มที่มุ่งเน้นนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์เรื่องสุขภาพ และความงามให้แก่ผู้บริโภค โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์หลัก ภายใต้ 13 ตราสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ซึ่ง ประกอบด้วย

1) ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและความงาม (Functional Beverage Category) ได้แก่ เซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและความงาม ที่แค่ดื่ม...ก็สวย”, เซ็ปเป้ บิวติ ชอท เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและความงาม แบบเข้มข้น เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนในเวลาอันรวดเร็ว เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแบบเข้มข้น สำหรับคนเมืองและคนทำงาน เน้น เรื่องการบำรุงสมองและก่รพักผ่อน เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนอันรวดเร็ว และ เซนต์ แอนนา เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและความงาม แบบเข้มข้น ในคอนเซ็ปต์สวยง่ายๆ ...สบายกระเป๋า

2) ผลิตภัณฑ์ประเภทน้าผลไม้ เครื่องดื่มแต่งกลิ่นผลไม้ (Fruit Juice / Juice Drink Category) ได้แก่ เซ็ปเป้ ฟอร์ วัน เดย์ น้ำผักผลไม้เข้มข้น 100% เหมาะกับคนที่รักสุขภาพแต่ไม่มีโอกาสหรือ เวลาได้กินผัก, โมกุ โมกุ น้ำผลไม้ผสมวุ้นมะพร้าวรายแรกของตลาด มีจุดขายที่ชิ้นวุ้นขนาดใหญ่, ชิววี่ และ โคโค่ แครช เครื่องดื่มแต่งกลิ่นผลไม้น้ำผลไม้แต่งกลิ่นผสมวุ้นมะพร้าว และ เซ็ปเป้ อโล เวร่า ดริ้งค์ น้ำว่านหางจระเข้กลิ่นผลไม้ น้ำ ผลไม้แต่งกลิ่นผสมชิ้นว่านหางจระเข้

3) ผลิตภัณฑ์ประเภทผงพร้อมชง เพื่อสุขภาพ และ ความงาม (Functional Powder Category) ได้แก่ เพรียว คอฟฟี่ , สวิสส์ การ์เดน คอฟฟี่ และ สริมฟิต คอฟฟี่ ซึ่งเป็นกาแฟควบคุมน้ำหนัก เพื่อสุขภาพและ ความงาม และ เพรียว คลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นคลอโรฟิลล์ผงที่นำวัตถุดิบเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น มีคุณสมบัติในการช่วยดีท็อกซ์ขับล้างสารพิษ

4) ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มปรุงสาเร็จพร้อมดื่ม เพื่อสุขภาพ และ ความงาม (RTD Category) ได้แก่ เพรียว คอฟฟี่ แบบกระป๋อง

โดยในปี 2556 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ในสัดส่วนร้อยละ 54.26 ร้อยละ 26.54 ร้อยละ 17 และร้อยละ 3 ของรายได้จากการขายรวม ตามลำดับ และงวด 3 เดือนแรก ของปี 2557 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ในสัดส่วนร้อยละ 17 ร้อยละ 66 ร้อยละ 16 และร้อยละ 1 ของรายได้จากการขายรวม ตามลำดับ


ผลิตภัณฑ์ของบริษัทจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยในปี 2556 และงวด 3 เดือนแรกของปี 2557 มีสัดส่วนการขายในประเทศประมาณร้อยละ 52.31 และร้อยละ 38.98 ของรายได้จากการขายรวม และสัดส่วนการขายต่างประเทศประมาณร้อยละ 47.69 และร้อย ละ 61.02 ของรายได้จากการขายรวม ตามลำดับ โดยการขายในประเทศผ่านช่องทางจำหน่ายหลัก 2 ช่องทาง ได้แก่ ช่องทาง การค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ได้แก่ ร้านสะดวกซื้อ (Convenience store) ซุปเปอร์มาร์เก็ต และไฮเปอร์มาร์เก็ต เป็น ต้น และช่องทางจาหน่ายแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) ได้แก่ การขายผ่านตัวแทนจำหน่าย (Distributor) 3 ราย สำหรับ การขายในต่างประเทศเป็นการขายผ่านตัวแทนนำเข้าสินค้า (Importer) ของแต่ละประเทศนั้นๆ และการขายผ่านตัวแทน จำหน่ายสินค้ำ โดยการส่งออกสินค้าของบริษัทได้รับการยอมรับกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ทั้งในทวีปเอเชีย เอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ตะวันออกกลาง ยุโรป แอฟฟริกา อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ โดยในปี 2556 สัดส่วนการขายในต่างประเทศที่ ประมาณร้อยละ 48 ของรายได้จากการขายรวม ประกอบด้วยภูมิภาค (Region) ต่างๆ ได้แก่ กลุ่มประเทศแถบเอเชียร้อยละ 36 กลุ่มประเทศแถบยุโรปและอเมริการ้อยละ 7 กลุ่มประเทศตะวันออกกลางและอื่นๆ ร้อยละ 5 ของรายได้จากการขายรวม ส่วนงวด 3 เดือนแรกของปี 2557 สัดส่วนการขายในต่างประเทศที่ประมาณร้อยละ 61 ของรายได้จากการขายรวม ประกอบด้วยภูมิภาค (Region) ต่างๆ ได้แก่ กลุ่มประเทศแถบเอเชียร้อยละ 52 กลุ่มประเทศแถบยุโรปและอเมริการ้อยละ 5 กลุ่มประเทศตะวันออกกลางและอื่นๆ ร้อยละ 4 ของรายได้จากการขายรวม

โครงการในอนาคต

ทั้งนี้ ในปี 2557 บริษัทมีแผนลงทุนในอนำคต รวม 2 โครงกำร โดยเป็นกำรลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์
มูลค่ำเงินลงทุนรวมประมำณ 400-600 ล้ำนบำท โดยจะใช้แหล่งเงินทุนจำกกำรเสนอขำยหุ้นต่อประชำชนในครั้งนี้
รำยละเอียดมีดังนี้

1. โครงการลงทุนเพื่อขยายก้าลังการผลิตเครื่องบรรจุน้ำ มูลค่าเงินลงทุนรวมประมาณ 250-350 ล้านบาท เพื่อ
เป็นการเพิ่มกำลังการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอนาคต จากแผนธุรกิจของบริษัทในปี 2557 - 2559 บริษัทวางแผนผลิตจากประมาณการอุปสงค์รวมสูงสุด 120,000 ตันต่อปี ซึ่งจากข้อมูลในอดีต อุปสงค์ของสินค้ามีความผันผวนตามฤดูกาล โดยมียอดขายสูงสุดในเดือนมีนาคม ถึง สิงหาคม ทำให้กำลังการผลิตบางช่วงไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ตลอดจนการเติบโตของตลาดต่างประเทศ ที่ผ่านมาเติบโตสูงมาโดยตลอด ดังนั้น บริษัทจึงมีแผนลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตอีก 60,000 ตันต่อปี รวมเป็น 160,000 ตันต่อปี

2. โครงการลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตขวดเปล่า PET มูลค่าเงินลงทุนรวมประมาณ 150-250 ล้านบาท การลงทุนโครงการนี้จะเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้ลดปริมาณการใช้พลาสติก (เรซิน) สำหรับขวด PET และพัฒนาฝาเป็นเทคโนโลยีฝาสั้น (Short Neck) เพื่อเป็นการลดต้นทุนของสินค้า ปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตขวดเปล่าประมาณ 164 ล้านขวดต่อปี คิดเป็นสัดส่วนค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับกำลังการผลิตของเครื่องบรรจุน้ำ โดยอุปทานส่วนที่ขาด บริษัทมีการจัดซื้อจาก Suppliers ภายนอก ทำให้มีต้นทุนที่สูงขึ้นจากค่าจ้างผลิต และค่าขนส่งขวดเปล่ามายังโรงงาน ดังนั้น เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น บริษัทจึงวางแผนเพิ่มกำลังการผลิตขวดเปล่าเป็น 380 ล้านขวดต่อปี โดยจะสามารถลดการสั่งซื้อขวด PET และลดต้นทุนผลิตได้อย่างมีนัยสำคัญ


ตารางผลประกอบการสำคัญ


หุ้นไอพีโอ'เซ็ปเป้'ให้ส่วนลดนักลงทุน 42 %

วันพุธที่ 18 มิถุนายน 2014 เวลา 14:23 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ

เซ็ปเป้ ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯพันล้าน นำเงินขยายกำลังการผลิต  เคาะราคาไอพีโอ 13.50 บาท  ใจป้ำให้ส่วนลดนักลงทุน 42.1%  ตั้งเป้ารายได้ปีนี้โต 30% จากปีก่อนปิดตัวเลข  2.4 พันล้านบาท แย้มหาพันธมิตรร่วมธุรกิจในเอเชีย

นายประเสริฐ ภัทรดิลก กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอดไวเซอรี่ พลัส จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน)(บมจ.) (SAPPE) เปิดเผยว่า เซปเป้เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไป (ไอพีโอ) จำนวน 75 ล้านหุ้น ที่ราคาหุ้นละ 13.50 บาท  ซึ่งมีส่วนลดเพื่อจูงใจให้กับนักลงทุนถึง 42.1% โดยเทียบกับอัตราราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น (พี/อี เรโช) ของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันซึ่งอยู่ที่ 27.5 เท่า ขณะที่หุ้นเซปเป้ พี/อี อยู่ที่ 15.9 เท่า โดยช่วงราคาเหมาะสมที่สำนักวิเคราะห์ประเมินไว้อยู่ในช่วงระหว่าง 14.00-17.40 บาท

สำหรับสินค้าของเซปเป้ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์หลัก ภายใต้ 13 ตราสินค้าที่จำหน่ายในประเทศ ได้แก่ 1.กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและความงาม 2.ผลิตภัณฑ์ประเภทน้ำผลไม้ / เครื่องดื่มแต่งกลิ่นผลไม้  3.ผลิตภัณฑ์ประเภทผงพร้อมชง เพื่อสุขภาพและความงาม และ 4.ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มปรุงสำเร็จพร้อมดื่มเพื่อสุขภาพและความงาม นอกจากนี้ยังส่งออกไปจำหน่ายไปยัง 50 ประเทศทั่วโลก ทั้งทวีปเอเชีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกกลาง ยุโรป แอฟริกา อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ โดยเป็นการจำหน่ายผ่านคู่ค้า ตัวแทนจำหน่าย ตัวแทนนำเข้าสินค้า ผู้ค้าปลีกและร้านค้าย่อยในช่องทางจัดจำหน่ายต่างๆ
  
  นายอดิศักดิ์ รักอริยะพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เซปเป้ กล่าวว่า  เงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้จำนวน 1.01 พันล้านบาท แบ่งนำไปใช้ในการขยายกำลังการผลิตเครื่องบรรจุน้ำและการผลิตขวด PET อีก 60% จากปัจจุบันมีกำลังการผลิต 1 แสนตันต่อปี โดยจะใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 400 ล้านบาทเพื่อรองรับแผนขยายธุรกิจต่อไปในอนาคต ส่วนที่เหลือนำไปชำระเงินกู้ 105 ล้านบาท และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในบริษัท

    ขณะที่บริษัทตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ปีนี้ไว้ 30% จากปีก่อนมีรายได้อยู่ที่ 2.4 พันล้านบาท และตั้งเป้าหมายยอดขาย 3-5 ปี จะเติบโตเฉลี่ยปีละ 25% ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากการส่งออกยังคงเติบโตดีอย่างต่อเนื่อง และมีกำไรที่ดีกว่าในประเทศ โดยบริษัทมีการส่งออกมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ขณะที่บริษัทมองหาพันธมิตรร่วมธุรกิจเพิ่มเติมในเอเชีย จากที่ได้เข้าไปร่วมทุนในอินโดนีเซียและสโลวาเกียแล้ว โดยเข้าไปถือหุ้นในสัดส่วน 60%  ส่วนผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/57 มีรายได้รวมจากการขาย 774 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 64.26% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน มีกำไรสุทธิ 146 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 449% เทียบงวดเดียวกันปีก่อน 
  
  นายอดิศักดิ์ กล่าวว่า  เครื่องดื่มแบรนด์ “เซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์” ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นเบอร์ 1 ของตลาดฟังก์ชันนัลดริ้งค์สำหรับผู้หญิงในประเทศไทย และน้ำผลไม้ผสมวุ้นมะพร้าวแบรนด์ “โมกุ โมกุ” ที่ประสบความสำเร็จได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคทั่วโลก
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,958 วันที่ 19 - 21  มิถุนายน  พ.ศ. 2557

วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

SKR

ลักษณะผลิตภัณฑ์หรือบริการ

บริษัทประกอบธุรกิจหลักในการให้บริการสถานพยาบาล โดยมีโรงพยาบาลภายใต้การดำเนินการของบริษัท ศิครินทร์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลศิครินทร์ และโรงพยาบาลรัทรินทร์ โรงพยาบาลทั้งสองแห่งมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญครบทุกสาขา และเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยลักษณะการให้บริการของบริษัทสามารถจําแนกออกตามประเภทของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาพยาบาลได้ 2 ประเภท คือ ผู้ป่วยนอก (OPD) และผู้ป่วยใน (IPD) 

ปัจจุบันมีโรงพยาบาลภายใต้การดำเนินงาน คือ

โรงพยาบาลศิครินทร์ตั้งอยู่เลขที่ 4/29 หมู่ 10 ถนนศรีนครินทร์ แขวงบางนา เขตบางนา จังหวัด
กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนเนื้อที่ดิน 11 ไร่ 81 ตารางวา เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2536  ปัจจุบันประกอบไปด้วยอาคารรักษาพยาบาล 3 อาคาร มีเตียงรองรับผู้ป่วยใน  235 เตียง และมีศักยภาพรองรับผู้ป่วยนอกได้เฉลี่ย 2,800 คนต่อวัน

โรงพยาบาลรัทรินทร์ ตั้งอยู่เลขที่ 999/23-29 ถนนสุขุมวิทสายเก่า ตําบลบางปูใหม่  อําเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ดินรวม 1 ไร่ 46 ตารางวา เปิดดําเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2536 มีเตียงรองรับผู้ป่วยใน 70 เตียง และมีศักยภาพรองรับผู้ป่วยนอกได้เฉลี่ย 700 คนต่อวัน

ปัจจุบันบริษัทฯ มีทุนจดทะเบียน 910 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 140 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 6.50 บาทและทุนจดทะเบียนเรียกชำระแล้ว 650 ล้านบาท  แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 100 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 6.50 บาท







โครงการอนาคต

การขยายพื้นที่ศูนย์ศัลยกรรม และฉุกเฉิน
ด้วยผู้ป่วยกลุ่มศัลยกรรม และฉุกเฉิน มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีศักยภาพในการเติบโตสูง
มาก อีกทั้งบริษัทฯ มีเป้าหมายที่จะเป็น “Medical Emergency Center” จึงได้ลงทุนเพิ่ม เพื่อเพิ่มพื้นที่บริการของกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว ประกอบด้วย ห้องตรวจ 6 ห้อง, Treatment 2 ห้อง, OR Minor 1 ห้อง และ MRI 1 ห้อง

Asian Medical Center:ศูนย์บริการลูกค้าต่างชาติ
เป็นโครงการปรับปรุงพื้นที่การให้บริการสำหรับผู้ป่วยต่างชาติ ซึ่งประกอบด้วยต่างชาติที่พักอาศัย
อยู่ในเมืองไทย (Expat) และต่างชาติที่เดินทางจากต่างประเทศมารักษาผ่านการทำตลาดโดยตัวแทนขาย (Agency) ซึ่งกลุ่มดังกล่าวนี้ ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นการเฉพาะ ดังนั้น ผู้ป่วยต่างชาติทุกรายที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาลศิครินทร์ จะให้บริการผ่าน Asian Medical Center

โครงการก่อสร้างโรงพยาบาลศิครินทร์ อาคาร 4
ซึ่งเป็นอาคารขนาด 12 ชั้น 1 หลัง และอาคารจอดรถขนาด 7 ชั้น 1 หลัง โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2558



วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557

TAE

ตารางผลประกอบการ



สถานการณ์เอธานอลปัจจุบัน

คาดว่าในปี 2557 นี้จะมีความสามารถในการผลิดเอธานอลทั้งหมดประมาณ 4 ล้านลิตรต่อวัน แต่ความต้องการใช้อยู่ที่ประมาณ 3 ล้านลิตรต่อวัน โดยช่วงนี้ไม่มีการส่งเอธานอลออกไปขายต่างประเทศ เพราะราคาในประเทศดีกว่า ดังนั้นจึงเป็นการผลิดเท่าที่มีความต้องการในประเทศเท่านั้น

เงื่อนไขสำคัญของธุรกิจเอธานอล

แม้ว่า ในอนาคตปริมาณการใช้เอธานอลจะมากขึ้นทุกปีก็ตาม แต่ราคาเอธานอลในประเทศนั้นกำหนดจากราคาเอธานอลของบราซิล บวกค่าขนส่ง ค่าประกัน ฯลฯ เข้าไป ส่วนวัตถุดิบคือ กากน้ำตาล มันสำปะหลัง และอ้อย นั้น มีราคาตามฤดูกาลไม่แน่นอน

และต้นทุนเอธานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังจะสูงกว่า ผลิตจากกากน้ำตาล
เท่าที่รู้ ทางการกำหนดให้ผู้ซื้อต้องซื้อเอธานอลทั้งสองส่วนคือ ที่ผลิตจากมันสำปะหลัง และผลิตจากกากน้ำตาล โดยมีอัตราส่วนที่แน่นอนว่า เท่าไหร่

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ธุรกิจเอธานอลนั้น ราคาขายควบคุมไม่ได้ ต้นทุนวัตถุดิบก็ควบคุมไม่ได้ ซึ่งก็เหมือนกับธุรกิจ ผลิตน้ำตาลทราย กลั่นน้ำมัน ฯลฯ ดังนั้นไม่แน่นอนว่า ยอดขายที่สูงขึ้น แล้วจะได้กำไรสุทธิมากขึ้นตามไปด้วย

ราคาหุ้นที่เหมาะสม
ดังจะเห็นได้จากเงื่อนไขทางธุรกิจ ดังนั้นราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ จึงไม่สามารถมีค่าได้สูง น่าจะอยู่ในระดับเดียวกับ ธุรกิจน้ำตาล หรือ ธุรกิจกลั่นน้้ำมัน เป็นต้น คืออยู่ราวๆ 10 เท่า

ปล. บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของ จขกท

------------------------------------------------------------------------
ข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเอทานอล

ไทยอะโกรฯจ่อผุดรง.เอทานอล
วันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2014 เวลา 14:31 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ

ไทยอะโกรฯ เตรียมลุยตลาดเอทานอลเพื่อขายกลุ่มอุตสาหกรรมเคมีในประเทศ หวังเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ หวั่นในอนาคตแผนส่งเสริมเอทานอลเพื่อผลิตเป็นพลังงานอาจไม่เป็นตามเป้า ล่าสุดอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้จับมือพันธมิตรโรงงานหีบอ้อยผุดโรงงานเอทานอลเพิ่มอีก 1.5-2 แสนลิตรต่อวัน หวังขึ้นแท่นผู้ผลิตเอทานอลอันดับ 2 กำลังการผลิตเกิน 5 แสนลิตรต่อวัน

นายสมชาย โล่ห์วิสุทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยอะโกร เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือทีเออี เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้ความต้องการเอทานอลในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น คาดว่าสิ้นปีจะอยู่ที่ระดับ 2.8 ล้านลิตรต่อวัน จากปัจจุบันอยู่ที่ 2.5-2.6 ล้านลิตรต่อวัน มาจากนโยบายการส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ของกระทรวงพลังงาน แต่ในอนาคตหากยังติดปัญหาความยืดเยื้อทางการเมืองอาจทำให้ความต้องการเอทานอลเพื่อใช้ในภาคพลังงานชะลอตัวลง ดังนั้นบริษัทจึงมีแนวคิดที่จะผลิตเอทานอลเพื่อส่งขายในกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี ป้อนให้กับลูกค้าในประเทศ เนื่องจากเห็นว่ากลุ่มเคมีต้องนำเข้าเอทานอลบริสุทธิ์เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตจำนวนมาก

โดยปัจจุบันบริษัทผลิตเอทานอลอยู่ที่ระดับ 70-80% ของกำลังการผลิตทั้งหมดที่ 3.65 แสนลิตรต่อวัน ซึ่งจะขายเอทานอลที่ผลิตได้ทั้งหมดให้กับกลุ่มบริษัทน้ำมันเป็นหลัก อาทิ กลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอสโซ่(ประเทศไทย) จำกัด ดังนั้นหากจะขยายไปยังลูกค้ากลุ่มเคมี จำเป็นต้องมีโรงงานเอทานอลเพิ่มขึ้น ซึ่งบริษัทอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงงานเอทานอล โดยกำลังการผลิตที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 1.5-2 แสนลิตรต่อวัน จะทำให้กำลังการผลิตของบริษัทเพิ่มเป็นกว่า 5 แสนลิตรต่อวัน

"ราคาเอทานอลที่ขายในกลุ่มเคมีจะต้องมีความบริสุทธิ์มากกว่าการใช้ในภาคพลังงาน หากต้องการขายให้กับกลุ่มนี้จะต้องปรับปรุงหอกลั่นใหม่ แต่ตอนนี้ความต้องการเอทานอลในภาคพลังงานยังดี ไม่ได้ชะลอตัวลง จึงเน้นขายให้กับกลุ่มพลังงานก่อน ส่วนในอนาคตหากความต้องการเอทานอลในภาคพลังงานนิ่งๆ หรือไม่เติบโต บริษัทก็จะหันมาขายให้กับกลุ่มเคมีแทน ซึ่งมีราคาแพงกว่า ตลาดกว้างกว่า โดยเฉพาะประเทศสิงคโปร์และจีน ยังมีความต้องการใช้เอทานอลเพื่อเคมีสูงขึ้น" นายสมชาย กล่าว

นายสมชาย กล่าวอีกว่า สำหรับแผนลงทุนของบริษัทในระยะสั้นจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพขนาด 3 เมกะวัตต์ให้เสร็จภายในปี 2557 แบ่งเป็นเฟสแรก 1 เมกะวัตต์ จะเดินเครื่องภายในเดือนพฤษภาคมนี้ และเฟส 2 เสร็จในเดือนกรกฎาคมนี้ ล่าสุดมีความคืบหน้าโครงการก่อสร้างไปแล้ว 70% ซึ่งโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะนำมาใช้ในโรงงานของบริษัททั้งหมด เชื่อว่าจะสามารถลดต้นทุนค่าไฟได้ประมาณ 75 ล้านบาทต่อปี ส่วนแผนลงทุนในระยะยาว ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในธุรกิจเอทานอล ทั้งต้นน้ำและปลายน้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องการให้บริษัทเป็นธุรกิจที่มีความครบวงจร อาทิ การศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าร่วมทุนในโรงงานหีบอ้อย เพื่อนำกากน้ำตาล หรือโมลาสมาใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานเอทานอลของบริษัท ซึ่งเป็นการป้องกันความเสี่ยงด้านวัตถุดิบ จากปัจจุบันทำสัญญาซื้อระยะยาวจากโรงงานน้ำตาลมิตรผล ขณะเดียวกันยังสนใจลงทุนโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพเพื่อขายเข้าระบบด้ว

นอกจากนี้ หากแผนลงทุนโรงงานเอทานอลแห่งใหม่ของบริษัทเกิดขึ้น จะทำให้ไทยอะโกรฯ มีกำลังการผลิตมากกว่า 5 แสนลิตรต่อวัน ซึ่งจะเป็นผู้ผลิตเอทานอลอันดับ 2 ของประเทศ จากปัจจุบันเป็นผู้ผลิตอันดับ 3 ของประเทศ รองจากกลุ่มมิตรผล และอุบลเอทานอล อย่างไรก็ตามหากการส่งเสริมบรรลุเป้าหมายการใช้เอทานอลให้ถึง 9 ล้านลิตรต่อวัน ภายในปี 2564 เชื่อว่าในอนาคตไทยจะสามารถขึ้นเป็นฮับเอทานอลได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม มองว่าการจะเดินหน้าผลักดันการใช้เอทานอลให้ได้ตามเป้า จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐในการผลักดันการใช้แก๊สโซฮอล์อี 20 ซึ่งรถยนต์รุ่นใหม่ก็สามารถใช้ได้ การทำตลาดแก๊สโซฮอล์อี 85 รวมทั้งการส่งเสริมการส่งออกเอทานอลด้วย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,943 วันที่ 27 - 30 เมษายน พ.ศ. 2557

เอทานอลสหรัฐตีตลาดเอเชีย
By สำนักข่าวไทย TNA News | 4 ก.พ. 2557 18:35

กทม. 4 ก.พ. - นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอลไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้มีเอทานอลจากสหรัฐเข้ามาตีตลาดในเอเชีย โดยจำหน่ายให้ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ราคาต่ำประมาณ 19 บาทต่อลิตร ผู้ผลิตในไทยจึงไม่มีการส่งออกประกอบกับราคาในไทยสูงกว่า โดยไตรมาส 1/2557 ราคาอยู่ที่ 25-26 บาทต่อลิตร คาดไตรมาส 2 ประมาณ 25 บาทต่อลิตร ซึ่งการชุมนุมทางการเมืองไม่ได้มีผลต่อราคาเอทานอลแต่อย่างใด

“แม้สหรัฐจะเข้ามาตีตลาดเอทานอลในเอเชีย ก็เป็นเรื่องปกติการค้าขายในโลก และไม่กระทบต่อตลาดเอทานอลของไทย เพราะยอดผลิตใกล้เคียงกับความต้องการ” นายสิริวุทธิ์ กล่าว

ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานเอทานอล 2 โรงงาน กำลังผลิต 4 ล้านลิตรต่อวัน ผลิตจากกากน้ำตาลและมันสำปะหลัง ขณะที่ความต้องการเมื่อเดือนธันวาคม อยู่ที่ 2.8 ล้านลิตรต่อวัน และคาดว่าปีนี้ความต้องการจะเพิ่มสูงกว่า 3 ล้านลิตรต่อวัน และจะมีโรงงานแห่งใหม่ผลิตจากมันฯ เกิดขึ้น 3 แห่ง กำลังผลิตอีกเกือบ 1 ล้านลิตรต่อวัน โดยปัจจัยที่ทำให้ความต้องการเพิ่มขึ้น เนื่องจากเมื่อประเทศไทยยกเลิกเบนซิน 91 ปั๊มน้ำมันได้เปลี่ยนมาจำหน่ายอี 20 เพิ่มขึ้น จะเห็นว่าปั๊มต่างชาติก็ขายอี 20 แล้ว

นอกจากนี้ยังมีปั๊มอี 85 กระจายไปต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม หากบรรยากาศทางการเมืองดีขึ้น ประชาชนมีการท่องเที่ยวจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ก็คาดว่าความต้องการจะสูงขึ้นกว่านี้ โดยปี 2556 เดิมคาดสิ้นปีเอทานอลจะมียอดใช้ 3 ล้านลิตรต่อวัน แต่สุดท้ายอยู่ที่ 2.8 ล้านลิตรต่อวัน .- สำนักข่าวไทย

----------------------------------------------------------------------------------

----------------------------------------------------

'ปิยสวัสดิ์'หวั่นยกเลิกกองทุนน้ำมันทำธุรกิจเอทานอลตาย

ฐานออนไลน์ วันอังคารที่ 24 มิถุนายน 2014 เวลา 14:53 น.

ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานกลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน เปิดเผยในงานสัมมนาปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืนของไทย ว่า กรณีมีกลุ่มผู้สนับสนุนยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มองว่าการจะยกเลิกกองทุนฯหรือไม่นั้นจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม เพราะเป้าหมายหลักของการจัดตั้งกองทุนฯเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาพลังงาน แต่ปัจจุบันกลับถูกใช้เป็นเครื่องมือในการหาเสียง เป็นการนำมาใช้เพื่อนโยบายประชานิยม ซึ่งควรยุติได้แล้ว แต่ควรใช้กองทุนฯในทางที่ถูกต้อง โดยเห็นด้วยกับการนำเงินจากกองทุนฯอุดหนุนเชื้อเพลิงชีวภาพ อาทิ เอทานอล ทำให้ราคาขายปลีกแก๊สโซฮอล์กับเบนซินแตกต่างกัน แต่หากไม่มีกองทุนฯจะทำให้ราคาน้ำมันดังกล่าวใกล้เคียงกัน อาจทำให้ผู้บริโภคไม่สนใจแก๊สโซฮอล์ เพราะมีอัตราการสิ้นเปลืองมากกว่า สุดท้ายผู้บริโภคก็จะเลือกใช้แต่เบนซินเท่านั้น ส่งผลให้ธุรกิจเอทานอลต้องล้มละลาย เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน ขณะเดียวกันไทยก็ต้องนำเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้นด้วย

"หากมีการยกเลิกกองทุนน้ำมันฯ อาจนำเงินจากกองทุนอนุรักษ์ฯมาใชัส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพแทน เพราะหากปล่อยให้ราคาเบนซินกับแก๊สโซฮอล์ใกลัเคียงกันก็จะกระทบต่อนโยบายการส่งเสริมพลังงานทดแทน ขณะเดียวกันก็กระทบต่อเกษตรกรด้วย"

สำหรับสถานการณ์ความรุนแรงในอิรักส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากอิรักเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันในระดับ 3ล้านบาร์เรลต่อวัน ดังนั้นการที่ปริมาณน้ำมันหายไปจากตลาดโลก ทำใฟ้มีแนวโน้มว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้นอีกหากสถานการณ์บานปลาย ดังนั้นจึงเป็นความเสี่ยงของประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่พึ่งพิงการนำเข้าน้ำมันในระดับสูง

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า ปัจจุบันปริมาณสำรองปิโตรเลียมของไทยอยู่ที่ประมาณ7-15ปี ดังนั้นสิ่งสำคัญคือไทยจำเป็นต้องสำรวจแหล่งปิโตรเลียมเพิ่มเติม ส่วนการเปิดประมูลสัมปานรอบที่21อยู่ระหว่างการพิจารณาของ คสช. หากภาครัฐมีการกำหนดแบ่งปันผลประโยชน์ที่ดึงดูดใจ ปตท.สผ.ก็สนใจประมูล อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าแปลงสัมปทานในประเทศไทย หากเป็นแปลงที่ยังไม่เคยขุดเจาะสำรวจมีโอกาสพบน้ำมันหรือก๊าซเพียง 10% เท่านั้น  



วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ยุบกองทุนน้ำมัน

"ปิยสวัสดิ์" หนุนยุบกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 6 มิถุนายน 2557



"ปิยสวัสดิ์" หนุนยุบกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ชี้โครงสร้างราคาน้ำมันควรสะท้อนกลไกตลาด


นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และกลุ่มปฏิรูปโครงสร้างพลังงานระยะยาวเพื่อความยั่งยืน กล่าวว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอเรื่องการยุบกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพราะสอดคล้องกับข้อเสนอของกลุ่มที่ผ่านมา ที่ต้องการเห็นโครงสร้างราคาน้ำมันสะท้อนกลไกตลาด เพราะที่ผ่านมาทั้งอดีตรัฐบาลตั้งแต่ปี 2547 สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ล้วนใช้กลไกกองทุนน้ำมันในการจัดทำนโยบายประชานิยมอุดหนุนราคาพลังงานมาโดยตลอด จนทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ใช้น้ำมันที่ต้องอุดหนุนผู้ใช้ก๊าซแอลพีจี และไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตั้งแต่แรกเริ่มที่ต้องการรักษาเสถียรภาพความมั่นคงพลังงานเป็นหลักตาม พ.ร.ก.แก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2516 และใช้อำนาจตามข้อ 3 แห่ง พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าวในการจัดตั้งกองทุนน้ำมัน
"การตั้งกองทุนน้ำมันมีตัวแทนของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเข้ามาดู ซึ่งที่ผ่านมามีความเป็นห่วงเรื่องการจัดตั้งว่าจะถูกต้องหรือไม่ ซึ่งได้รับคำยืนยันว่าถูกต้อง ทั้งนี้ แล้วแต่การตีความ แต่เมื่อสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ใช้การตรึงราคาน้ำมันจนหนี้สูงกว่า 80,000 ล้านบาท และในปี 2547 ได้มีการออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 เรื่องการจัดตั้งกองทุนน้ำมันฯ และสถาบันบริหารกองทุนพลังงานมาจัดการ ซึ่งช่วงนั้นมีการออกพันธบัตร และขณะนี้ก็จะมีหนี้กู้เงินมาเพื่อชดเชยกองทุนที่ทำหน้าที่หลักในการอุดหนุนราคาพลังงาน" นายปิยสวัสดิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ผลที่เกิดขึ้นหากยกเลิกเงินกองทุนน้ำมันทันที คือ ราคาเบนซิน 95 จะลดทันที 10 บาท/ลิตร ราคาอี 10 จะลดลงตามกองทุนที่เก็บ แต่อี 20 จะเพิ่มขึ้น 1.05 บาท อี 85 จะเพิ่มขึ้น 11.60 บาท/ลิตร ดีเซลลดลง 25 สต. ราคาแอลพีจีทุกภาคส่วนจะมีราคาเดียวกัน คือ 26 บาท/กก. ซึ่งเป็นราคาที่เฉลี่ยระหว่างราคาโรงแยกก๊าซฯ โรงกลั่นฯ และการนำเข้าแอลพีจีที่บวกค่าขนส่งที่ 919 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ราคาเฉลี่ย 26 บาท/กก. หมายถึงราคาครัวเรือนและขนส่งจะขยับขึ้นจากที่ขณะนี้อยู่ที่ 22.63 บาท/กก. และ 21.38 บาท/กก.ตามลำดับ ส่วนภาคอุตสาหกรรมราคาจะลดลงจากที่อยู่ที่ 30.13 บาท/กก.

ดังนั้น หากยุบเลิกกองทุนน้ำมันจริง สิ่งที่กระทรวงพลังงานจะต้องพิจารณา คือ จะส่งเสริมเอทานอลอย่างไร เพราะราคาแก๊สโซฮอล์ใกล้เคียงน้ำมันเบนซิน โดยอาจจะใช้กองทุนส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์พลังงานมาเป็นกลไกอุดหนุน จากที่ปัจจุบันจัดเก็บ 0.25 บาท/ลิตร ดังนั้นราคาน้ำมันจะไม่ได้ลดตามสัดส่วนกองทุนน้ำมันทั้งหมด และจะต้องหาทางบริหารจัดการเกี่ยวกับหนี้ของกองทุนที่มีกว่า 7,000 ล้านบาทอย่างไร

ชี้กองทุนน้ำมันสร้างความมั่นคงพลังงาน

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 6 มิถุนายน 2557

"ไพรินทร์" ปัดข้อเสนอยุบกองทุนน้ำมัน ชี้ช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวรประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอยุบกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพราะบทบาทหลักขณะนี้คือลดผลกระทบจากความผันผวนด้านราคาน้ำมันและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยในต่างประเทศที่ไม่มีกองทุนนี้ก็จะมีคลังสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ของตนเอง มีกลไกดูแล แต่ไทยไม่มีคลังนี้ ปัจจุบันสำรองน้ำมันร้อยละ 6 โดยเอกชน และหากจะเพิ่มความมั่นคงก็น่าจะมีการจัดตั้งกองทุนสำรองทางยุทธศาสตร์แทนกองทุนน้ำมันมาดูแลสร้างคลังและเพิ่มสำรองให้เหมาะสม เพราะหากเกิดปัญหาสงครามหรือภัยพิบัติใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการค้าน้ำมัน ประเทศจะได้ไม่ขาดแคลน ขณะเดียวกัน หากไทยยกเลิกกองทุนน้ำมัน ก็ต้องยกเลิกการอุดหนุนราคาแล้วปล่อยเป็นไปตามกลไกตลาดทั้งหมด
นายไพรินทร์ กล่างถึงข้อเสนอของกลุ่มเอ็นจีโอที่ให้ปรับโครงสร้างราคาโดยให้ภาคปิโตรเคมีไปใช้วัตถุดิบนำเข้าทดแทนการใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศ เพื่อลดภาระการอุดหนุนของราคานำเข้าแอลพีจี โดยกองทุนน้ำมันว่า เรื่องปิโตรเคมีเป็นไปตามยุทธศาสตร์ประเทศตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ที่กำหนดให้การใช้ก๊าซในประเทศสนับสนุนแก่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นอันดับแรก เพื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุนจนมีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีการลงทุนอุตสาหกรรมต่อเนื่องสร้างมูลค่าเพิ่มมากมาย และราคาปิโตรเคมีก็เป็นราคาที่สนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องและเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมที่ใช้ เช่น รถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
"สูตรราคาปิโตรเคมีเป็น “netback pricing” ซึ่งมาจากต้นทุนบวกส่วนแบ่งกำไรของปลายน้ำ เป็นราคาให้แข่งขันได้ทั้งระบบ หากให้ใช้ราคาแอลพีจีนำเข้าแล้วโรงงานต่อเนื่องได้รับผลกระทบ คนงานอาจจะต้องตกงานนับแสนคน" นายไพรินทร์ กล่าว
นายไพรินทร์ กล่าวด้วยว่า มีแนวคิดจะแยกธุรกิจน้ำมันไปเป็นบริษัทในเครือ เช่นเดียวกับการแยกบัญชีธุรกิจท่อก๊าซออกไป เพื่อความโปร่งใส จะได้เห็นชัดเจนว่าธุรกิจเช่นนี้เป็นอย่างไร หรืออาจจะสร้างแบรนด์ใหม่แทนการใช้ ปตท.ในธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน เพื่อไม่ให้ถูกโจมตีเรื่องการผูกขาด ทั้งที่ ปตท.มีมาร์เก็ตแชร์ ร้อยละ 39 เท่านั้น