วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557

TAE

ตารางผลประกอบการ



สถานการณ์เอธานอลปัจจุบัน

คาดว่าในปี 2557 นี้จะมีความสามารถในการผลิดเอธานอลทั้งหมดประมาณ 4 ล้านลิตรต่อวัน แต่ความต้องการใช้อยู่ที่ประมาณ 3 ล้านลิตรต่อวัน โดยช่วงนี้ไม่มีการส่งเอธานอลออกไปขายต่างประเทศ เพราะราคาในประเทศดีกว่า ดังนั้นจึงเป็นการผลิดเท่าที่มีความต้องการในประเทศเท่านั้น

เงื่อนไขสำคัญของธุรกิจเอธานอล

แม้ว่า ในอนาคตปริมาณการใช้เอธานอลจะมากขึ้นทุกปีก็ตาม แต่ราคาเอธานอลในประเทศนั้นกำหนดจากราคาเอธานอลของบราซิล บวกค่าขนส่ง ค่าประกัน ฯลฯ เข้าไป ส่วนวัตถุดิบคือ กากน้ำตาล มันสำปะหลัง และอ้อย นั้น มีราคาตามฤดูกาลไม่แน่นอน

และต้นทุนเอธานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังจะสูงกว่า ผลิตจากกากน้ำตาล
เท่าที่รู้ ทางการกำหนดให้ผู้ซื้อต้องซื้อเอธานอลทั้งสองส่วนคือ ที่ผลิตจากมันสำปะหลัง และผลิตจากกากน้ำตาล โดยมีอัตราส่วนที่แน่นอนว่า เท่าไหร่

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ธุรกิจเอธานอลนั้น ราคาขายควบคุมไม่ได้ ต้นทุนวัตถุดิบก็ควบคุมไม่ได้ ซึ่งก็เหมือนกับธุรกิจ ผลิตน้ำตาลทราย กลั่นน้ำมัน ฯลฯ ดังนั้นไม่แน่นอนว่า ยอดขายที่สูงขึ้น แล้วจะได้กำไรสุทธิมากขึ้นตามไปด้วย

ราคาหุ้นที่เหมาะสม
ดังจะเห็นได้จากเงื่อนไขทางธุรกิจ ดังนั้นราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ จึงไม่สามารถมีค่าได้สูง น่าจะอยู่ในระดับเดียวกับ ธุรกิจน้ำตาล หรือ ธุรกิจกลั่นน้้ำมัน เป็นต้น คืออยู่ราวๆ 10 เท่า

ปล. บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของ จขกท

------------------------------------------------------------------------
ข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเอทานอล

ไทยอะโกรฯจ่อผุดรง.เอทานอล
วันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2014 เวลา 14:31 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ

ไทยอะโกรฯ เตรียมลุยตลาดเอทานอลเพื่อขายกลุ่มอุตสาหกรรมเคมีในประเทศ หวังเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ หวั่นในอนาคตแผนส่งเสริมเอทานอลเพื่อผลิตเป็นพลังงานอาจไม่เป็นตามเป้า ล่าสุดอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้จับมือพันธมิตรโรงงานหีบอ้อยผุดโรงงานเอทานอลเพิ่มอีก 1.5-2 แสนลิตรต่อวัน หวังขึ้นแท่นผู้ผลิตเอทานอลอันดับ 2 กำลังการผลิตเกิน 5 แสนลิตรต่อวัน

นายสมชาย โล่ห์วิสุทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยอะโกร เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือทีเออี เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้ความต้องการเอทานอลในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น คาดว่าสิ้นปีจะอยู่ที่ระดับ 2.8 ล้านลิตรต่อวัน จากปัจจุบันอยู่ที่ 2.5-2.6 ล้านลิตรต่อวัน มาจากนโยบายการส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ของกระทรวงพลังงาน แต่ในอนาคตหากยังติดปัญหาความยืดเยื้อทางการเมืองอาจทำให้ความต้องการเอทานอลเพื่อใช้ในภาคพลังงานชะลอตัวลง ดังนั้นบริษัทจึงมีแนวคิดที่จะผลิตเอทานอลเพื่อส่งขายในกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี ป้อนให้กับลูกค้าในประเทศ เนื่องจากเห็นว่ากลุ่มเคมีต้องนำเข้าเอทานอลบริสุทธิ์เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตจำนวนมาก

โดยปัจจุบันบริษัทผลิตเอทานอลอยู่ที่ระดับ 70-80% ของกำลังการผลิตทั้งหมดที่ 3.65 แสนลิตรต่อวัน ซึ่งจะขายเอทานอลที่ผลิตได้ทั้งหมดให้กับกลุ่มบริษัทน้ำมันเป็นหลัก อาทิ กลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอสโซ่(ประเทศไทย) จำกัด ดังนั้นหากจะขยายไปยังลูกค้ากลุ่มเคมี จำเป็นต้องมีโรงงานเอทานอลเพิ่มขึ้น ซึ่งบริษัทอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงงานเอทานอล โดยกำลังการผลิตที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 1.5-2 แสนลิตรต่อวัน จะทำให้กำลังการผลิตของบริษัทเพิ่มเป็นกว่า 5 แสนลิตรต่อวัน

"ราคาเอทานอลที่ขายในกลุ่มเคมีจะต้องมีความบริสุทธิ์มากกว่าการใช้ในภาคพลังงาน หากต้องการขายให้กับกลุ่มนี้จะต้องปรับปรุงหอกลั่นใหม่ แต่ตอนนี้ความต้องการเอทานอลในภาคพลังงานยังดี ไม่ได้ชะลอตัวลง จึงเน้นขายให้กับกลุ่มพลังงานก่อน ส่วนในอนาคตหากความต้องการเอทานอลในภาคพลังงานนิ่งๆ หรือไม่เติบโต บริษัทก็จะหันมาขายให้กับกลุ่มเคมีแทน ซึ่งมีราคาแพงกว่า ตลาดกว้างกว่า โดยเฉพาะประเทศสิงคโปร์และจีน ยังมีความต้องการใช้เอทานอลเพื่อเคมีสูงขึ้น" นายสมชาย กล่าว

นายสมชาย กล่าวอีกว่า สำหรับแผนลงทุนของบริษัทในระยะสั้นจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพขนาด 3 เมกะวัตต์ให้เสร็จภายในปี 2557 แบ่งเป็นเฟสแรก 1 เมกะวัตต์ จะเดินเครื่องภายในเดือนพฤษภาคมนี้ และเฟส 2 เสร็จในเดือนกรกฎาคมนี้ ล่าสุดมีความคืบหน้าโครงการก่อสร้างไปแล้ว 70% ซึ่งโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะนำมาใช้ในโรงงานของบริษัททั้งหมด เชื่อว่าจะสามารถลดต้นทุนค่าไฟได้ประมาณ 75 ล้านบาทต่อปี ส่วนแผนลงทุนในระยะยาว ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในธุรกิจเอทานอล ทั้งต้นน้ำและปลายน้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องการให้บริษัทเป็นธุรกิจที่มีความครบวงจร อาทิ การศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าร่วมทุนในโรงงานหีบอ้อย เพื่อนำกากน้ำตาล หรือโมลาสมาใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานเอทานอลของบริษัท ซึ่งเป็นการป้องกันความเสี่ยงด้านวัตถุดิบ จากปัจจุบันทำสัญญาซื้อระยะยาวจากโรงงานน้ำตาลมิตรผล ขณะเดียวกันยังสนใจลงทุนโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพเพื่อขายเข้าระบบด้ว

นอกจากนี้ หากแผนลงทุนโรงงานเอทานอลแห่งใหม่ของบริษัทเกิดขึ้น จะทำให้ไทยอะโกรฯ มีกำลังการผลิตมากกว่า 5 แสนลิตรต่อวัน ซึ่งจะเป็นผู้ผลิตเอทานอลอันดับ 2 ของประเทศ จากปัจจุบันเป็นผู้ผลิตอันดับ 3 ของประเทศ รองจากกลุ่มมิตรผล และอุบลเอทานอล อย่างไรก็ตามหากการส่งเสริมบรรลุเป้าหมายการใช้เอทานอลให้ถึง 9 ล้านลิตรต่อวัน ภายในปี 2564 เชื่อว่าในอนาคตไทยจะสามารถขึ้นเป็นฮับเอทานอลได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม มองว่าการจะเดินหน้าผลักดันการใช้เอทานอลให้ได้ตามเป้า จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐในการผลักดันการใช้แก๊สโซฮอล์อี 20 ซึ่งรถยนต์รุ่นใหม่ก็สามารถใช้ได้ การทำตลาดแก๊สโซฮอล์อี 85 รวมทั้งการส่งเสริมการส่งออกเอทานอลด้วย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,943 วันที่ 27 - 30 เมษายน พ.ศ. 2557

เอทานอลสหรัฐตีตลาดเอเชีย
By สำนักข่าวไทย TNA News | 4 ก.พ. 2557 18:35

กทม. 4 ก.พ. - นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอลไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้มีเอทานอลจากสหรัฐเข้ามาตีตลาดในเอเชีย โดยจำหน่ายให้ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ราคาต่ำประมาณ 19 บาทต่อลิตร ผู้ผลิตในไทยจึงไม่มีการส่งออกประกอบกับราคาในไทยสูงกว่า โดยไตรมาส 1/2557 ราคาอยู่ที่ 25-26 บาทต่อลิตร คาดไตรมาส 2 ประมาณ 25 บาทต่อลิตร ซึ่งการชุมนุมทางการเมืองไม่ได้มีผลต่อราคาเอทานอลแต่อย่างใด

“แม้สหรัฐจะเข้ามาตีตลาดเอทานอลในเอเชีย ก็เป็นเรื่องปกติการค้าขายในโลก และไม่กระทบต่อตลาดเอทานอลของไทย เพราะยอดผลิตใกล้เคียงกับความต้องการ” นายสิริวุทธิ์ กล่าว

ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานเอทานอล 2 โรงงาน กำลังผลิต 4 ล้านลิตรต่อวัน ผลิตจากกากน้ำตาลและมันสำปะหลัง ขณะที่ความต้องการเมื่อเดือนธันวาคม อยู่ที่ 2.8 ล้านลิตรต่อวัน และคาดว่าปีนี้ความต้องการจะเพิ่มสูงกว่า 3 ล้านลิตรต่อวัน และจะมีโรงงานแห่งใหม่ผลิตจากมันฯ เกิดขึ้น 3 แห่ง กำลังผลิตอีกเกือบ 1 ล้านลิตรต่อวัน โดยปัจจัยที่ทำให้ความต้องการเพิ่มขึ้น เนื่องจากเมื่อประเทศไทยยกเลิกเบนซิน 91 ปั๊มน้ำมันได้เปลี่ยนมาจำหน่ายอี 20 เพิ่มขึ้น จะเห็นว่าปั๊มต่างชาติก็ขายอี 20 แล้ว

นอกจากนี้ยังมีปั๊มอี 85 กระจายไปต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม หากบรรยากาศทางการเมืองดีขึ้น ประชาชนมีการท่องเที่ยวจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ก็คาดว่าความต้องการจะสูงขึ้นกว่านี้ โดยปี 2556 เดิมคาดสิ้นปีเอทานอลจะมียอดใช้ 3 ล้านลิตรต่อวัน แต่สุดท้ายอยู่ที่ 2.8 ล้านลิตรต่อวัน .- สำนักข่าวไทย

----------------------------------------------------------------------------------

----------------------------------------------------

'ปิยสวัสดิ์'หวั่นยกเลิกกองทุนน้ำมันทำธุรกิจเอทานอลตาย

ฐานออนไลน์ วันอังคารที่ 24 มิถุนายน 2014 เวลา 14:53 น.

ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานกลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน เปิดเผยในงานสัมมนาปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืนของไทย ว่า กรณีมีกลุ่มผู้สนับสนุนยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มองว่าการจะยกเลิกกองทุนฯหรือไม่นั้นจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม เพราะเป้าหมายหลักของการจัดตั้งกองทุนฯเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาพลังงาน แต่ปัจจุบันกลับถูกใช้เป็นเครื่องมือในการหาเสียง เป็นการนำมาใช้เพื่อนโยบายประชานิยม ซึ่งควรยุติได้แล้ว แต่ควรใช้กองทุนฯในทางที่ถูกต้อง โดยเห็นด้วยกับการนำเงินจากกองทุนฯอุดหนุนเชื้อเพลิงชีวภาพ อาทิ เอทานอล ทำให้ราคาขายปลีกแก๊สโซฮอล์กับเบนซินแตกต่างกัน แต่หากไม่มีกองทุนฯจะทำให้ราคาน้ำมันดังกล่าวใกล้เคียงกัน อาจทำให้ผู้บริโภคไม่สนใจแก๊สโซฮอล์ เพราะมีอัตราการสิ้นเปลืองมากกว่า สุดท้ายผู้บริโภคก็จะเลือกใช้แต่เบนซินเท่านั้น ส่งผลให้ธุรกิจเอทานอลต้องล้มละลาย เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน ขณะเดียวกันไทยก็ต้องนำเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้นด้วย

"หากมีการยกเลิกกองทุนน้ำมันฯ อาจนำเงินจากกองทุนอนุรักษ์ฯมาใชัส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพแทน เพราะหากปล่อยให้ราคาเบนซินกับแก๊สโซฮอล์ใกลัเคียงกันก็จะกระทบต่อนโยบายการส่งเสริมพลังงานทดแทน ขณะเดียวกันก็กระทบต่อเกษตรกรด้วย"

สำหรับสถานการณ์ความรุนแรงในอิรักส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากอิรักเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันในระดับ 3ล้านบาร์เรลต่อวัน ดังนั้นการที่ปริมาณน้ำมันหายไปจากตลาดโลก ทำใฟ้มีแนวโน้มว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้นอีกหากสถานการณ์บานปลาย ดังนั้นจึงเป็นความเสี่ยงของประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่พึ่งพิงการนำเข้าน้ำมันในระดับสูง

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า ปัจจุบันปริมาณสำรองปิโตรเลียมของไทยอยู่ที่ประมาณ7-15ปี ดังนั้นสิ่งสำคัญคือไทยจำเป็นต้องสำรวจแหล่งปิโตรเลียมเพิ่มเติม ส่วนการเปิดประมูลสัมปานรอบที่21อยู่ระหว่างการพิจารณาของ คสช. หากภาครัฐมีการกำหนดแบ่งปันผลประโยชน์ที่ดึงดูดใจ ปตท.สผ.ก็สนใจประมูล อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าแปลงสัมปทานในประเทศไทย หากเป็นแปลงที่ยังไม่เคยขุดเจาะสำรวจมีโอกาสพบน้ำมันหรือก๊าซเพียง 10% เท่านั้น  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น