วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อดกลั้นต่อสิ่งยั่วเย้า โดย ดร.นิเวศน์

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
วันที่ 15 กรกฎาคม 2557 
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/nives/20140715/593077/%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B2.html

การลงทุนในตลาดหุ้นแบบระยะยาวจริงๆ คือ ถือหุ้นแต่ละตัวโดยเฉลี่ยมากกว่าหนึ่งปี หรือหลายๆ ปีขึ้นไป

ผมคิดว่าเป็นเรื่องยากสำหรับนักลงทุนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่ยังมีอายุน้อย และมีความหวังที่จะ "รวย" จากการลงทุนในเวลาอันสั้น เหตุผลที่สำคัญคือ คนจำนวนมากคิดว่า การลงทุนระยะสั้น จะให้ผลตอบแทนสูงกว่าการซื้อหุ้นแล้วไม่ขาย ถ้า "เล่นสั้น" จะมีโอกาส "ทำกำไร" ปีละหลายรอบ บางทีรอบละ 10-20% ปีหนึ่งอาจสร้างผลตอบแทนหลายสิบเปอร์เซ็นต์
คนที่เป็น "เทรดเดอร์" หรืออาจเป็น "นักลงทุนรายวัน" สิ่งที่ "ยั่ว" ให้เขาเข้ามาซื้อหรือขายหุ้นคือ ราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้น นี่คือการเล่นหุ้นตามแนวเทคนิค ที่เน้นการซื้อขายหุ้นตามความผันผวนของราคาและความคึกคักของหุ้น หุ้นที่กำลังวิ่งขึ้นรวดเร็ว เช่น ภายในเวลาเพียงชั่วอึดใจราคาอาจจะปรับขึ้นไปเป็น 10% หรือในช่วงไม่กี่วันราคาขยับขึ้นไปต่อเนื่องหลายสิบเปอร์เซ็นต์ อาการแบบนี้ทำให้นักเล่นหุ้นระยะสั้นแนวเทรดเดอร์ “อดทนไม่ไหว” ต้องเข้าไปเล่นโดยหวังว่าหุ้นจะวิ่งต่อไปและตนเองสามารถทำกำไรได้อย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น
คนที่เข้าไปเล่นหุ้นตามแนวทางนี้เมื่อได้กำไรในระดับหนึ่ง เช่น อาจจะ 5%-6% ก็มักจะรีบขายทำกำไรเพราะอาจจะกลัวว่าหุ้นจะ “ปรับตัวลง” เช่นเดียวกัน บางคนเข้าไปซื้อ “ช้าเกินไป” และหุ้นปรับตัวลงต่ำกว่าต้นทุน บางทีเข้าก็อาจจะขายทิ้งเหมือนกัน
“สิ่งยั่วเย้า” ต่อมาที่มักทำให้คนเข้าไปซื้อหุ้น โดยไม่ได้ศึกษาบริษัทอย่างลึกซึ้งก็คือ “ข่าวดี” ของบริษัท เช่น บริษัทสามารถสร้างยอดขายได้โดดเด่น เช่น ขายคอนโดหมดได้อย่างรวดเร็ว บริษัทได้รับงานใหม่ที่มีขนาดหรือรายได้สูง เช่น บริษัทรับเหมาก่อสร้างประมูลงานได้ หรือบริษัทชนะประมูลแข่งในกิจการสัมปทานหรืองานจากหน่วยงานรัฐและเอกชนต่าง ๆ เป็นต้น ข่าวดีเหล่านั้นถึงจะทำรายได้ให้บริษัทเพิ่มขึ้นในอนาคตและอาจจะช่วยทำให้บริษัทมีกำไรมากขึ้นซึ่งก็จะทำให้หุ้นมีค่ามากขึ้นได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะเป็นเรื่องที่ “เกิดขึ้นครั้งเดียว” หรือไม่ถาวร
ดังนั้นผลกระทบในแง่ของมูลค่าของบริษัทก็อาจจะไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นเรื่อง “ระยะยาว” แต่ใน “ระยะสั้น” คนก็น่าจะเข้ามาเก็บหุ้น และราคาก็จะปรับตัวขึ้น นั่นคือสิ่งที่เราคิด และนั่นทำให้ “อดไม่ได้” ที่จะต้องซื้อหุ้น คิดว่านี่คือเงินที่จะได้มาง่าย ๆ หรือเป็น “Easy Money”
สิ่งยั่วเย้าให้คนแห่กันเข้ามาซื้อหุ้น โดยที่ไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพื้นฐานของบริษัทอีกกลุ่มหนึ่งก็คือสิ่งที่ผมเรียกว่า “Financial Engineering” ในความหมายของผมก็คือ การออกตราสารการเงิน ทั้งที่เป็นหุ้นหรืออนุพันธ์ที่ให้ฟรีหรือเกือบฟรีกับผู้ถือหุ้น หรือการปรับแต่งตัวเลขทางการเงิน เช่น การปรับพาร์หรือแตกหุ้นต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งในพื้นฐานจริงๆ แล้วเป็นเรื่องของการพิมพ์หรือปรับตัวเลขบนกระดาษเพื่อส่งให้ผู้ถือหุ้น แต่ผลที่มักเกิดขึ้นคือนักลงทุนคิดว่าบริษัทกำลังจ่ายปันผลหรือให้สิทธิต่างๆ ที่มีค่า ดังนั้นพวกเขาก็เข้ามาเก็งกำไรโดยการซื้อหุ้นเพื่อหวังปันผลหรือสิทธินั้น โดยอาจจะไม่เข้าใจว่ามูลค่าของหุ้นเดิม จะต้องถูกลดทอนลงหรือเกิด “Dilution” ราคาหุ้นมักจะเพิ่มขึ้น นักลงทุนที่เห็นประกาศการทำ “Financial Engineering” ก็มักจะอดไม่ไหวที่จะเข้าไปซื้อหุ้น เพราะหวังที่จะได้กำไรอย่างง่าย ๆ
นอกจาก “Financial Engineering” แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ไม่แพ้กันก็คือ “Business Engineering” ในความหมายของผมหมายถึงการดัดแปลงหรือหาธุรกิจใหม่ที่ “หวือหวา” ที่เป็นธุรกิจที่ “มีกำไรดี” และ “ทำได้ง่าย ๆ” เช่น พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หรือเป็นธุรกิจ “แห่งอนาคต” เช่น พลังงานทดแทน มาทำแทนหรือเสริมธุรกิจเดิมอย่างมีนัยสำคัญ ผลที่เกิดมักเกิดขึ้นก็คือ บริษัทถูกมองว่าจะกลายเป็นบริษัทที่มีกำไร และเติบโตมหาศาลจากเดิมที่เป็นบริษัทน่าเบื่อและไม่มีอนาคต นักลงทุนจะเข้ามาซื้อหุ้นและให้มูลค่าเท่าๆ หรือมากกว่าบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ทั้งๆ ที่บริษัทยังไม่ได้พิสูจน์ผลงานเป็นที่ประจักษ์ ผลคือราคาหุ้นพุ่งพรวดและนักลงทุนจำนวนมาก “อดไม่ได้” ที่จะ“ร่วมขบวน”การ “หาเงินง่าย ๆ” นี้
ในยามที่ตลาดหุ้นบูมหนักอย่างในช่วงเร็ว ๆ นี้ ดูเหมือนว่าจะไม่มีอะไรที่จะทำกำไรแบบ Easy Money มากเท่ากับหุ้น IPO หรือหุ้นเข้าตลาดครั้งแรก นี่เป็นการเก็งกำไรที่ได้เสียเร็วมากที่สุดอย่างหนึ่งเพราะราคาหุ้นผันผวนเป็นหลายสิบเปอร์เซ็นต์ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง แม้แต่ชั่วนาทีอาจทำกำไรหรือขาดทุนได้หลายเปอร์เซ็นต์ แน่นอน คนที่เข้าไปเล่นในวันแรกที่หุ้นเข้าตลาดนั้นต่างหวังกำไรทั้งนั้น และพวกเขาอดกลั้นไม่ไหวที่จะอยู่เฉย ๆ และมอง“กำไรที่หายไปต่อหน้าต่อตา” ดังนั้นพวกเขาก็เข้าไปเล่น โดยไม่ได้สนใจพื้นฐานของกิจการ
การสนองตอบต่อสิ่งยั่วเย้านั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะต่อนักลงทุนที่ “ไม่รอบรู้” เท่านั้น แม้แต่คนที่เก่งกาจและเป็น VI ผู้มุ่งมั่นเองก็ประสบกับมันเช่นกัน ความต้องการกำไรที่มากและรวดเร็วหรือเป็น Easy Money นั้น ทำให้หุ้นประเภทมีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวขึ้นมากและรวดเร็ว เป็นที่สนใจของ VI จำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะที่อายุยังไม่มากและพอร์ตยังไม่ใหญ่นัก นั่นคือหุ้นที่ถูกจัดว่าเป็นหุ้น Turnaround หรือหุ้นฟื้นตัว หรือหุ้น Cyclical หรือหุ้นวัฏจักร หุ้นสองกลุ่มนี้คือหุ้นที่พื้นฐานหรือผลการดำเนินงานกำลังเปลี่ยน
จากบริษัทใกล้ล้มละลายหรือตกต่ำอย่างหนักจากภาวะแวดล้อมทางอุตสาหกรรม กลายเป็นบริษัทที่ “เกิดใหม่” และจะมีกำไร หรือกลายเป็นบริษัทที่กำลังจะมีกำไรดีต่อเนื่องไปในอนาคตหลังจากตกต่ำมาช่วงเวลาหนึ่ง ภาวะที่ดีขึ้นอย่างมากในเวลาอันสั้นนั้น มักก่อเกิดความรู้สึกที่เรียกว่า “Euphoria” หรือเป็นความรู้สึกที่ดีอย่างเคลิบเคลิ้ม จนลืมไปว่าผลประกอบการในอนาคตนั้นอาจจะไม่ได้สวยสดต่อเนื่องยาวนาน และดังนั้นพวกเขามักให้มูลค่าสูงเทียบกับผลกำไรบริษัท ที่กำลังดีขึ้นแต่อาจจะไม่คงทน ผลคือ ราคาหุ้นถูก “ดัน” ขึ้นไปมาก เนื่องจากนักลงทุน “ทนไม่ไหว” ที่จะไม่เข้าไปซื้อหุ้นที่เห็นว่าอาจจะโตขึ้นไปได้ อาจจะอีกหลายเท่า
ยังมีสิ่งยั่วเย้าอีกมากมายในตลาดหุ้นที่ดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาซื้อหุ้นในระยะสั้น ตัวอย่างเช่น การที่หุ้นถูกซื้อโดย “เซียน” หรือนักลงทุน “รายใหญ่” ในตลาดหุ้น หรือถูกซื้อโดยผู้บริหารในจำนวนมาก หรือเรื่องราวต่าง ๆ อีกร้อยแปดที่อาจจะมีผลต่อราคาหุ้นอย่างรุนแรง และทำให้นักลงทุนที่ติดตามความเคลื่อนไหวเหล่านั้น เข้ามาซื้อหุ้นโดยหวังทำกำไรรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นเพราะเขา “อดกลั้นไม่ได้”

ผมเองไม่ได้บอกว่าการเข้าซื้อหุ้นบ่อยๆ เพราะอดกลั้นไม่ได้ต่อสิ่งยั่วเย้าเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี มันคงเป็นประสบการณ์ของนักลงทุนแต่ละคน และคงขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ว่าถูกต้องหรือไม่ และบางทีเป็นเรื่องช่วงเวลาที่ทำ ส่วนตัวผมเองเชื่อว่า การทำหรือซื้อหุ้นบ่อยๆ ซึ่งแปลว่าต้องขายบ่อยด้วยนั้น ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับคนส่วนใหญ่ และทำให้การรู้จักอดกลั้นต่อสิ่งยั่วเย้านั้น เป็นศิลปะที่สำคัญอย่างหนึ่งของ VI

วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

SENA

ที่มา : updated: 12 ก.ค. 2557 เวลา 10:24:24 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ไล่ซื้อที่ดินพลิกโฉมฝั่งธน ชิงโกดังเก่าเสริมสุข-ทุบเมอร์รี่คิงส์รับรถไฟฟ้า

.....................

ทุ่ม 300 ล้านซื้อที่อาบอบนวด

ขณะที่ ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการ บมจ.เสนาดีเวลลอปเม้นท์ เปิดเผยว่า เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาบริษัทได้ซื้อที่ดินสถานบริการอาบอบนวดติดถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ชื่อ "บางกอกโคซี่" จากเจ้าของที่นำออกขายผ่านทางบริษัทตัวแทนขายที่ดิน โดยที่ดินทั้งแปลงมีเนื้อที่กว่า 3 ไร่ ซื้อมาในราคาเฉลี่ย ตร.ว.ละกว่า 3 แสนบาท หรือยกแปลงกว่า 300 ล้านบาท

ปัจจุบันอยู่ระหว่างออกแบบ จะพัฒนาเป็นคอนโดฯ สูงกว่า 20-30 ชั้น ภายใต้แบรนด์เดอะนิช คาดว่ามีราคาขายเริ่มต้น ตร.ม.ละ 8 หมื่นบาท หรือยูนิตละกว่า 2 ล้านบาท จะเปิดตัวได้ช่วงครึ่งปีหลังนี้.............................




-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
SENA เปิด 4 โครงการใหม่ Q4/57 มูลค่า 1,640 ลบ.ทั้งแนวราบ-คอนโดฯ-คลับเฮ้าส์
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 8 กันยายน 2557 17:44:58 น.

นายสุธรรม โอฬารกิจนันต์ ผู้อำนวยการจัดสรรเงินทุนและการลงทุน บมจ.เสนาดีเวลลอปเม้นท์ (SENA) กล่าวว่า ในช่วงไตรมาส 4/57 บริษัทมีแผนเปิดตัวโครงการใหม่เพิ่มอีก 4 โครงการ รวมมูลค่า 1,640 ล้านบาท แบ่งเป็นคอนโดมิเนียมย่านถนนเสรีไทย 1 โครงการ มูลค่า 1,200 ล้านบาท ขนาด 800 ยูนิต ส่วนอีก 2 โครงการเป็นแนวราบทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝดและทาวน์โฮมย่านรามอินทรา รวมมูลค่า 240 ล้านบาท และคลับเฮ้าส์ของโครงการสนามกอล์ฟพัทยาคันทรีคลับ มูลค่า 200 ล้านบาท
ดังนั้น บริษัทจึงเชื่อว่ายอดขายในปีนี้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ 3,000 ล้านบาท หลังจากช่วงครึ่งปีแรกทำยอดขายได้แล้วราว 1,200 ล้านบาท และในช่วงช่วงเดือน ก.ค.จนถึงวันที่ 8 ก.ย.ได้ยอดขายเพิ่มเข้ามาอีกราว 600 ล้านบาท

นอกจากนั้น บริษัทยังคงเป้ารายได้ในปีนี้ที่ 2,500 ล้านบาท หลังจากครึ่งปีแรกมียอดขายแล้ว 1,018 ล้านบาท ขณะที่แนวโน้มรายได้ช่วงไตรมาส 3/57 น่าจะสูงกว่าไตรมาส 2/57 โดยปัจจุบันมียอดขายรอโอน(backlog) กว่า 2,000 ล้านบาทที่จะทยอยรับรู้รายได้ภายในปีนี้ประมาณ 75% หรือราว 1,500 ล้านบาท รวมถึงโครงการที่จะเปิดขายในครึ่งหลังน่าจะทยอยรับรู้ฯเข้ามาได้อีกบางส่วน

"8 เดือน ยอดขายราว 1,800 ล้านบาท อีก 1,200 ล้านบาทช่วง ก.ย.-ธ.ค.ก็จะมีโครงการเดิมที่เปิดขายอยู่ตั้งแต่ต้นปีถึงปลายปี และแนวโน้มไตรมาส 4 sentiment ดีขึ้นจากไตรมาส 3  เพราะโดยรวมผู้บริโภคมีความมั่นใจมากขึ้น ซึ่งช่วยกระตุ้นกำลังซื้ออสังหาฯ จึงเชื่อแนวโน้มครึ่งหลังดีกว่าครึ่งแรก"นายสุธรรม กล่าว

ล่าสุด ในเดือนส.ค.ที่ผ่านมา บริษัทได้เปิดโครงการ"เดอะนิช ไอดี บางแค"คอนโดมิเนียมสูง 8 ชั้น จำนวน 2 อาคาร(เฟส 1) มูลค่าโครงการ 690 ล้านบาท กระแสตอบรับดี


สำหรับงบซื้อที่ดินในปี 57 ที่บริษัทตั้งวงเงินไว้ที่ 1,000 ล้านบาทนั้น จนถึงขณะนี้ใช้ไปแล้ว 600 ล้านบาท เหลืออีก 400 ล้านบาทที่อยู่ระหว่างเจรจาซื้อที่ดินเพิ่มเติม คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

MPG

"แมงป่อง"ผนึกพันธมิตรไทย-เทศ เร่งขยายสาขาบุกตลาดออนไลน์ดันรายได้โต50%

updated: 09 ก.ค. 2557 เวลา 13:25:10 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
"แมงป่อง" ชูกลยุทธ์ซินเนอร์ยี่ จับมือพันธมิตรชั้นนำไทย-เทศ รุกธุรกิจไลฟ์สไตล์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ พร้อมตั้งเป้าขยายร้านกิซแมน ปีละ 5 สาขา รองรับความต้องการลูกค้ายุคดิจิทัล มั่นใจยอดขายเติบโต 15- 25% ตามเป้า พร้อมกลับมาเทรดในตลาดอีกครั้ง 9 ก.ค.นี้

นางกิตติ์ยาใจ ตรีเอกวิจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมงป่อง 1989 จำกัด (มหาชน) หรือ MPG เปิดเผยว่า ธุรกิจบันเทิงและไลฟ์สไตล์ เป็นธุรกิจที่มีการขยายตัวเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีพัฒนาการที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยบริษัทในฐานะผู้นำในธุรกิจด้านดังกล่าว ได้วางแผนที่จะขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตต่อไปผ่านกลยุทธ์การซินเนอร์ยี่ ร่วมกับพันธมิตรชั้นนำในประเทศและต่างประเทศ ผ่านการเปิดสาขาเพิ่มในศูนย์การค้าต่าง ๆ

และเพื่อรับกับยุคของดิจิ ทัล รวมถึงตอบสนองความต้องการของลูกค้ายุคใหม่ บริษัทตั้งเป้าการขยายร้านกิซแมน ซึ่งเป็นร้านจำหน่ายสินค้าไลฟ์สไตล์เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นปีละ 5 สาขา ด้วยงบฯลงทุน 10 ล้านบาท โดยจะมีสาขาครบ 15 แห่ง ภายใน 3 ปี จากปัจจุบันมีสาขาแล้ว ที่สาขาเซ็นทรัล พระราม 3, สยามพารากอน, เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์, เดอะไนน์ พระราม 9 และ 55 มาร์เก็ต ศรีนครินทร์ 

นอกจาก นี้จะเน้นกลยุทธ์ในการทำตลาดอีคอมเมิร์ซมากขึ้น เนื่องจากแนวโน้มการซื้อสินค้าทางออนไลน์มีอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยบริษัทมีเว็บไซต์ mangpong.co.th และเว็บไซต์ gizmanlifestyle.com โดยคาดว่ายอดขายสินค้าทางออนไลน์จะเพิ่มขึ้นประมาณ 30-50% ในปีนี้

ส่วน การดำเนินธุรกิจในระยะต่อไป บริษัทจะให้ความสำคัญกับการบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่าย การเพิ่มรายได้ และคัดสรรเฉพาะลิขสิทธิ์ที่มีคุณภาพที่กำลังได้รับความนิยม โดยคำนึงถึงความสามารถในการทำกำไรเป็นหลัก การสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าให้โดดเด่น และการให้บริการที่ประทับใจแก่ลูกค้า

"บริษัทได้ผ่านหลักเกณฑ์ของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้หุ้น MPG ได้กลับเข้ามาซื้อขายในตลาดเอ็มเอไออีกครั้ง ดีเดย์ 9 กรกฎาคมนี้ และมั่นใจว่าการมีสินค้าที่ทันสมัย ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ความบันเทิง ประสบการณ์ในการบริหารงาน บุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญ พันธมิตรที่แข็งแกร่ง ทำเลที่ตั้งของสาขาในจังหวัดใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ และฐานลูกค้าจำนวนมาก จะทำให้ยอดขายในปี 2557 บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรือมีการเติบโตที่ 15-25% ได้อย่างแน่นอน" นางกิตติ์ยาใจกล่าวทิ้งท้าย

วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

รายได้และกำไรขั้นต้นของธุรกิจ โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์

เท่าที่ได้ศึกษาจากรายงานทางการเงินของบริษัทแห่งที่ทำธุรกิจ ขายไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์
พบว่า

1. ประมาณรายได้ต่อปี เท่ากับ 23 ล้านบาทต่อ เมกาวัตต์
2 กำไรขั้นต้นต่อปี เท่ากับ 17.27 ล้านบาทต่อเมกาวัตต์
3 ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ต่อเมกาวัตต์ เท่ากับ 100 ล้านบาท

จากตัวเลขนี้ ก็พอจะมองภาพธุรกิจนี้ออกบ้างครับ