วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

"สิงห์ เอสเตท"

"สิงห์ เอสเตท" เขย่าวงการอสังหาฯ

ที่มา : http://www.homezoomer.com/show_news.php?pid=584

"ภิรมย์ภักดี"เขย่าวงการอสังหาฯ Backdoor รสา พร็อพเพอร์ตี้ดีเวลลอปเม้นท์ (RASA) ใช้สูตร RASA เพิ่มทุน 4,162.35 ล้านหุ้น ราคา 1.87 บ. แลกกับหุ้น 2 บริษัทกลุ่มสิงห์ "เอส ไบร์ทฟิวเจอร์" และ "สันติบุรี" ก่อนควบกิจการเปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน)” ด้วยสินทรัพย์เฉียด 5,000 ล้านบาทพร้อมเปิดแผนเตรียมผุดโปรเจ็กต์ยักษ์มูลค่าโครงการกว่า 9,200 ล้านบาท ด้าน หุ้น RASA กระฉูดรับข่าวตั้งแต่ต้นปี จาก 1.50 บาทจนล่าสุดปิดชนซิลลิ่งใกล้แตะ 3 บาท โบรกเกอร์แนะระมัดระวังการลงทุน รอความชัดเจนการควบรวมกิจการ
** RASA เพิ่มทุนมโหฬาร 4,162.35 หุ้น เปิดทางกลุ่มสิงห์ Backdoor
บริษัท รสา พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (RASA) แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการ อนุมัติเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้น อนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ จาก 549,998,401บาท เป็นทุนจดทะเบียน 4,712,350,732 บาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 4,162,352,331 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 1 บาท เพื่อจัดสรรให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) โดยจัดสรรเพื่อใช้ชำระเป็นค่าตอบแทนให้แก่ บริษัท สิงห์ พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด สำหรับ หุ้นสามัญของบริษัท เอส ไบร์ทฟิ วเจอร์ จำกัด ให้แก่และนายสันติ ภิรมย์ภักดี สำหรับหุ้นสามัญของบริษัท สันติบุรี จำกัด ตามแผนการรวมธุรกิจของบริษัทฯ โดยการรับโอนกิจการทั้งหมด (Entire Business Transfer (EBT)) ในราคาเสนอขายหุ้นละ 1.87 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 7,783,598,859 บาท โดย สิงห์ พร็อพเพอร์ตี้ จะนำหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ในเอส ไบร์ทฟิวเจอร์ จำนวน 41,349,997 หุ้น คิดเป็นร้อยละ99.99 มาชำระค่าหุ้น แทนการชำระด้วยเงินสด และนายสันติ จะนำหุ้นทั้งหมดที่ถือในสันติบุรี จำนวน 999,998 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 99.99 มาชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนแทนการชำระด้วยเงินสด
จากนั้น บริษัท สิงห์ พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด และ นายสันติ ภิรมย์ภักดี จะทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัทฯ (Mandatory Tender Offer (MTO)) ราคาหุ้นละ 1.87 บาท หลังจากกระบวนการเพิ่มทุนแล้วเสร็จ
**เตรียมเปลี่ยนชื่อเป็นสิงห์ เอสเตท"
พร้อมกันนี้ จะเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้น อนุมัติแผนการรวมธุรกิจของบริษัทฯ กับบริษัท สันติบุรี จำกัด และ บริษัท เอส ไบร์ทฟิวเจอร์ จำกัด และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน)” หลังจากธุรกรรมการโอนทั้งหมดแล้วเสร็จ โดยในเบื้องต้นคาดว่ากระบวนการรับโอนกิจการจะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ซึ่งรายการดังกล่าวถือเป็นการเข้าจดทะเบียนหลักทรัพย์โดยทางอ้อม (Backdoor Listing) และเนื่องจาก สิงห์ พร็อพเพอร์ตี้ เป็นผู้ที่จะได้รับการเสนอให้เป็นผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ ภายใต้เงื่อนไขของการเข้าทำธุรกรรมการรับโอนกิจการทั้งหมด จึงต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ที่มาประชุม และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนโดยไม่นับส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียพิเศษ
ทั้งนี้ กำหนดวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2557 ในวันที่ 9 มิถุนายน 2557 ณ ชั้น 25 อาคาร รสา ทาวเวอร์ เวลา 9.00 น. วันที่ไม่ได้รับสิทธิเข้าประชุม (XM) 24 เม.ย. 2557
** แจงราคาเพิ่มทุน 1.87 บ.เป็นไปตามเกณฑ์
ทั้งนี้ RASA ชี้แจงว่า ราคาหุ้นของหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯที่จัดสรรให้แก่ (ก) บริษัท สิงห์ พร็อพเพอร์ตี และ (ข) นายสันติ ภิรมย์ภักดี จำกัด ได้มาจากการประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนเท่ากับ 1 หุ้นของสันติบุรี และเอส ไบร์ทฟิวเจอร์ ต่อ1,229.946524 และ 70.916706 หุ้นของบริษัทฯตามลำดับ
ทั้งนี้ การออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าว ไม่ถือว่าเป็นการออกหุ้นใหม่ในราคาต่ำ เนื่องจากเป็นราคาที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของราคาตลาด เมื่อพิจารณาราคาตลาดตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับราคาตลาด ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2551 เรื่องการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 39/2551 เรื่องการคำนวณราคาเสนอขายหลักทรัพย์และการกำหนดราคาตลาด เพื่อการพิจารณาการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ำ โดยราคาตลาดใช้ราคาเปรียบเทียบกับราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นของบริษัทฯ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ย้อนหลังสิบห้าวันทำการติดต่อกันก่อนวันประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ซึ่งเป็นวันกำหนดราคาเสนอขาย โดยมีค่าเท่ากับ 2.04 บาท
** ดันสินทรัพย์เฉียด 5 พันลบ.
ทั้งนี้ RASA แจ้งข้อมูลทางการเงิน ณ วันที่ 31 ธ.ค. 56 ประหนึ่งทำใหม่ เสมือนว่าสันติบุรี และเอส ไบรท์ฟิวเจอร์ มีการควบรวมธุรกิจกันแล้ว ดังนี้
สินทรัพย์ 4,955.22 ล้านบาท
รายได้รวม 274.70 ล้านบาท
กำไรขั้นต้น 164.38 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 26.16 ล้านบาท
** ชำแหละสินทรัพย์ -โปรเจ็กต์ยักษ์ "สิงห์ เอสเตท"
สำหรับข้อมูลสินทรัพย์ของ บริษัท สันติบุรี จำกัด ประกอบกิจการโรงแรม ที่พัก และบริการขายอาหาร ชื่อ “โรงแรมสันติบุรี บีช รี สอร์ท กอล์ฟ แอนด์ สปา” เริ่มประกอบกิจการเมื่อปี 2533 ตั้งอยู่เลขที่ 12/12 หมู่ 1 ถนนสายรอบเกาะ ตำบลแม่น้ำ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี ราคาประเมิน 2,608,000,000 ล้านบาท ซึ่ง ประเมินโดยบริษัทอเมริกันแอ๊พเพรซัล (ประเทศไทย) จำกัด โดยสินทรัพย์ประกอบด้วย ที่ดิน เนื้อที่ 56 ไร่ 3 งาน 93.7 ตารางวา และสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว ประกอบด้วยห้องพักจำนวน 71 ห้อง แบ่งเป็น อาคาร 2 หลัง มีห้องพักจำนวน 12 ห้อง และมีห้องพักแบบ วิลล่า 59 ห้อง รวมทั้งสิ้น 71 ห้อง
ส่วนบริษัท เอส ไบร์ทฟิวเจอร์ จำกัด ประกอบกิจการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท รวมถึงการเข้าเป็นหุ้นส่วน เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด และบริษัทมหาชน ปัจจุบันมีเงินลงทุนในบริษัทย่อยจำนวน 3 บริษัท ได้แก่
1.บริษัท สิงห์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ถือหุ้น 25,620,000 หุ้น คิดเป็น 99.99%
 บริษัท สิงห์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด มีที่ดินว่างเปล่า เนื้อที่ 11 ไร่ 1 งาน 24 ตารางวา ตั้งอยู่ที่ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และถนนอโศกมนตรี แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร (สถานทูตญี่ปุ่น) ราคาประเมิน 3,257,000,000 บาท ซึ่งประเมินโดยบริษัทอเมริกันแอ๊พเพรซัล (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทฯมีแนวคิดที่จะพัฒนาโครงการมูลค่า 6,000 ล้านบาท (ไม่รวมที่ดิน) โดยจะสร้างอาคารสำนักงานพร้อมพื้นที่พาณิชยกรรมรวม 144,250 ตารางเมตร ซึ่งประกอบด้วยตึกอาคารสำนักงานจำนวน 2 ตึก ห้องประชุมซึ่งจะใช้จัดการแสดงคอนเสิร์ต โรงแรมขนาดเล็ก ซึ่งจะมีห้องพักประมาณ 21 ห้อง และพื้นที่พาณิชยกรรมสำหรับขายสินค้าให้แก่พนักงานในอาคารสำนักงานและบุคคลทั่วไป เริ่มก่อสร้างไตรมาส 3 ปี 2558 คาดว่าจะแล้วเสร็จไตรมาส 2 ปี 2561 อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจและบริษัทฯไม่อาจรับประกันได้ว่าจะมีการพัฒนาโครงการดังกล่าวในอนาคต
 2. บริษัท ภิรมย์พัฒน์ จำกัด ถือหุ้น 72,993 หุ้น คิดเป็น 99.99%
บริษัท ภิรมย์พัฒน์ จำกัด มีที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เนื้อที่ 2 ไร่ 48 ตารางวา ตั้งอยู่ที่ ถนนอโศกมนตรี (ซอยสุขุมวิท 21) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ราคาประเมิน 721,000,000 บาท ซึ่งประเมินโดย บริษัทอเมริกันแอ๊พเพรซัล (ประเทศไทย) จำกัด
ปัจจุบันบริษัท ภิรมย์พัฒน์ จำกัด ให้เช่าอาคาร สิ่งปลูกสร้างให้แก่ร้านอาหาร แต่บริษัทฯมีแนวคิดที่จะพัฒนาโครงการเซอร์วิสอพาร์ทเมนท์และสำนักงานในอนาคตภายในอาคารเดียว เริ่มก่อสร้างไตรมาส 2 ปี 2558 คาดว่าจะแล้วเสร็จไตรมาส 3 ปี 2560 อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจและบริษัทฯไม่อาจรับประกันได้ว่าจะมีการพัฒนาโครงการดังกล่าวในอนาคต
3. บริษัท แม็กซ์ ฟิวเจอร์ จำกัด ถือหุ้น 14,999,997 หุ้น คิดเป็น 99.99%
บริษัท แม็กซ์ ฟิวเจอร์ จำกัด มีที่ดินว่างเปล่า เนื้อที่ 30 ไร่ 2 งาน 10 ตารางวา ตั้งอยู่ที่ ถนนประดิษฐ์มนูธรรม แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร ราคาประเมิน 1,221,000,000 บาท ซึ่งประเมินโดยบริษัทอเมริกันแอ๊พเพรซัล (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทฯมีแนวคิดที่จะพัฒนาโครงการหมู่บ้านจัดสรรระดับไฮเอนด์ (Hi-End) จำนวน 28 ยูนิต พื้นที่ประมาณหลังละ 235 ตารางวามูลค่าโครงการ 3,200 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างไตรมาส 4 ปี 2558 คาดว่าจะแล้วเสร็จไตรมาส 3 ปี 2562 โดยมีกลุ่มลูกค้าเป้ าหมายเป็นผู้บริโภคท มีรายได้สูง อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจและบริษัทฯไม่อาจรับประกันได้ว่าจะมีการพัฒนาโครงการดังกล่าวในอนาคต
** วงการชี้ดีล backdoor วิน-วิน
แหล่งข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า การขายหุ้น RASA ให้กลุ่มภิรมย์ภักดี เข้ามาควบรวมนั้น เป็นเพราะทาง RASA ประเมินว่าการแข่งขันในธุรกิจอสังหาฯ ปัจจุบันนั้นมีมากขึ้นต่อเนื่อง ในขณะที่บริษัทอสังหาฯ ขนาดเล็ก แข่งขันลำบากเมื่อเทียบกับบริษัทอสังหาฯ ขนาดใหญ่ อีกทั้งเมื่อประเมินจากที่ RASA เป็นผู้ประกอบการที่เน้นโครงการคอนโดมิเนียมเป็นหลักด้วยแล้ว การแข่งขันหรือแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด หรือยอดขายจากบริษัทขนาดใหญ่ จึงทำได้ยาก ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง จากปัญหาการเมืองในขณะนี้ ยิ่งมีส่วนทำให้บริษัทยอมขายหุ้นให้กับสิงห์พร็อพเพอร์ตี้ของนายสันติ ภิรมย์ภักดี ตลอดจนการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี ในปี 2558 หรือปีหน้า ซึ่งจะยิ่งทำให้การแข่งขันในธุรกิจอสังหาฯ รุนแรงมากขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นเมื่อมองจากศักยภาพ ฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง รวมถึงชื่อเสียงของกลุ่มสิงห์ ก็เหมาะสมที่ RASA ยินยอมให้เข้ามาควบรวมกิจการ โดยการ backdoor เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งล่าสุด RASA ได้เลื่อนเปิดโครงการใหม่ไป 1โครงการ หลังจากการชุมนุมทางการเมืองยืดเยื้อ
สำหรับการบริหารนั้น คาดว่ากลุ่มสิงห์ จะส่งผู้บริหารชุดใหม่เข้ามาบริหารแทนชุดเดิม
"น่าจะเป็นเรื่อง วิน วิน ของทั้ง 2 ฝ่าย เพราะสิงห์เองก็อยากจะขยายธุรกิจอสังหาฯ การเข้าซื้อกิจการของ RASA เมื่อเทียบกับขนาดของสิงห์แล้ว ก็ไม่ได้มากนัก อีกทั้งยังเป็นบริษัทในตลาดฯ ซึ่งก็น่าจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า"

ที่มาข่าว eFinanceThai.com



-----------------------------------------------------------------------------------------

สิงห์ลุยซื้อตึกสูง-คอนโดก่อสร้างค้าง 4ทำเลกลางเมือง-โบรกฯสบช่องขาย

updated: 28 เม.ย 2557 เวลา 15:12:38 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
กลุ่ม สิงห์ พร็อพเพอร์ตี้ เร่งสปีดปั้นพอร์ตอสังหาฯ ตั้งเป้ากว้านซื้อแลนด์แบงก์ตุนไว้ในมือ ประกาศรับซื้อที่ดินย่านใจกลางเมืองใกล้แนวเส้นทางรถไฟฟ้า 4 ทำเลรวด "สุขุมวิท-สีลม-สาทร-พระราม 4" ควบรับซื้อโครงการสร้างค้างทั้งจัดสรร คอนโดฯ โรงแรม ออฟฟิศให้เช่า เตรียมลุยอสังหาฯเต็มสูบ ด้านโบรกเกอร์ชื่อดัง "ซีบี ริชาร์ดฯ-คอลลิเออร์สฯ-โจนส์ แลงฯ" สบช่องเร่ขายที่ดินในมือ
ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากบริษัท สิงห์ พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด หรือ "สิงห์ พร็อพเพอร์ตี้" ได้รุกเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างเต็มตัว โดยสร้างเซอร์ไพรส์เข้าควบรวมกิจการกับบริษัท รสา พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บมจ.สิงห์ เอสเตท ส่งผลให้นายสันติ ภิรมย์ภักดี มีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท จากเดิมคาดการณ์กันว่าในช่วงแรก สิงห์ เอสเตท จะนำที่ดินเปล่าที่มีอยู่เดิมมาพัฒนา โดยเริ่มจากโครงการอสังหาฯเพื่อเช่าก่อน อาทิ ที่ดินบริเวณหัวมุมถนนเพชรบุรีตัดใหม่-ถนนอโศกมนตรี เนื้อที่กว่า 11 ไร่ มีแผนจะพัฒนาเป็นอาคารสำนักงาน พื้นที่เชิงพาณิชย์, ที่ดินบนถนนอโศกมนตรี (ซอยสุขุมวิท 21) พัฒนาเป็นอาคารสำนักงานและเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ อย่างไรก็ตาม ล่าสุดกลุ่มสิงห์ เอสเตท มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ ผ่านบริษัทในเครือคือ "แม็กซ์ ฟิวเจอร์" ได้ประกาศรับซื้อที่ดินเพิ่มเติมในพอร์ต โดยลงโฆษณาหนังสือพิมพ์ประกาศรับซื้อโครงการที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการ พัฒนา และที่ดินเปล่าทำเลใจกลางเมืองใกล้แนวรถไฟฟ้า

ต้องการที่ดิน 4 ทำเลเด่น

ผู้ สื่อข่าวสอบถามไปยังบริษัท แม็กซ์ ฟิวเจอร์ จำกัด ระบุว่า บริษัทต้องการเข้าสู่ธุรกิจพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยทั้งบ้านจัดสรรและ คอนโดมิเนียม จากเดิมพัฒนาโครงการประเภทโรงแรมและสนามกอล์ฟ ถึงแม้ปัจจุบันกลุ่มสิงห์มีที่ดินใจกลางเมืองอยู่หลายแปลง แต่ก็ยังต้องการซื้อเพิ่มอีก โดยเฉพาะที่ดินเปล่าใจกลางเมืองย่านศูนย์กลางธุรกิจหรือใกล้แนวรถไฟฟ้า ได้แก่ ทำเลสุขุมวิท สีลม สาทร และพระราม 4 เนื้อที่ 1-2 ไร่ขึ้นไป เพื่อนำมาพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม โดยมีทีมงานมืออาชีพที่มีความชำนาญเข้ามาบริหารงาน

ขณะเดียวกันก็ พร้อมพิจารณาข้อเสนอขายโครงการอสังหาฯที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ได้แก่ คอนโดฯ บ้านจัดสรร โรงแรม และออฟฟิศให้เช่าทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เพื่อนำมาพัฒนาต่อในนามสิงห์ เอสเตท ขึ้นอยู่กับว่าจะได้ราคาสมเหตุสมผลหรือไม่

"ราคาที่จะซื้อขึ้นอยู่ กับความสมเหตุสมผลของที่ดินแต่ละแปลงใกล้รถไฟฟ้าแค่ไหน ถ้าจะทำคอนโดฯต้องดูว่าตึกสูงได้หรือไม่ ถึงแม้มีที่ดินอยู่แล้ว แต่ทางคณะผู้บริหารก็ต้องการหาที่เพิ่มอีก" แหล่งข่าวกล่าว

โบรกเกอร์สบช่องขายที่ดิน

นางอลิวัสสา พัฒนถาบุตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีบี ริชาร์ด เอลลิส (ประเทศไทย) จำกัด ที่ปรึกษาการลงทุนอสังหาฯ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ทราบข่าวการควบรวมกิจการระหว่างสิงห์ ร็อพเพอร์ตี้กับรสาฯมาระยะหนึ่ง ประเมินว่าอีกไม่นานคงจะเข้ามารุกธุรกิจอสังหาฯเต็มตัว และต้องมองหาที่ดินแปลงใหม่ในทำเลที่มีศักยภาพเข้ามาเพิ่มเติม

สำหรับ ซีบี ริชาร์ดฯ หลังจากนี้ก็คงติดต่อเข้าไปพบเพื่อนำเสนอที่ดินในย่านใจกลางเมืองให้กับ สิงห์ พร็อพเพอร์ตี้พิจารณา แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าอยู่ในทำเลไหน เพราะที่ดินบางแปลงก็มีโบรกเกอร์หลายรายดูแลจึงต้องแข่งขันกัน

ส่วน การนำเสนอโครงการที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างพัฒนาและต้องการขายต่อ ทั้งบ้านจัดสรรและคอนโดฯ ขณะนี้ยังไม่โครงการลักษณะดังกล่าวอยู่ในพอร์ต เท่าที่มีเป็นอาคารสำนักงานขนาดกลางในพื้นที่กรุงเทพฯรอบนอก อาทิ บางนา พื้นที่อาคาร 4-5 พันตารางเมตร ตั้งราคาขายประมาณ 100 ล้านบาท ฯลฯ

ถนนวิทยุ 8 ไร่วาละ 2 ล้าน

แหล่ง ข่าวจากบริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า เมื่อปี 2553 บริษัทเคยเป็นตัวแทนขายดูแลการเปิดประมูลที่ดินสถานทูตญี่ปุ่นหัวมุมแยก อโศก-เพชรบุรี ซึ่งภายหลังกลุ่มบุญรอดบริวเวอรี่ของตระกูลภิรมย์ ภักดีเป็นผู้ชนะการประมูล อย่างไรก็ตามปัจจุบันบริษัทยังไม่ได้รับการติดต่อจากกลุ่มสิงห์ พร็อพเพอร์ตี้ ให้จัดหาที่ดินใจกลางเมืองให้ แต่ถ้ามีที่ดินทำเลดีในย่านใจกลางเมืองก็พร้อมจะเสนอให้กลุ่มสิงห์พิจารณา

ทั้งนี้ คอลลิเออร์สฯมีที่ดินในโซนสุขุมวิทที่เป็นโบรกเกอร์ 1-2 แปลง แต่ขอไม่เปิดเผยรายละเอียด ส่วนที่ดินใจกลางเมืองกำลังได้รับความสนใจและประกาศขายมาระยะหนึ่ง คือแปลงติดอาคารสมูทอี บนถนนวิทยุ เนื้อที่กว่า 8 ไร่ แต่ราคาตั้งสูงตารางวาละ 2 ล้านบาท

แหล่งข่าวจากบริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทยังไม่ได้รับการติดต่ออย่างเป็นทางการจากกลุ่มสิงห์ให้นำเสนอที่ดินใน ย่านใจกลางเมือง ถึงแม้นายล่องลม บุนนาค ผู้บริหารของกลุ่มสิงห์ในอดีตเคยเป็นประธานกรรมการของโจนส์ แลงฯมาก่อน ทั้งนี้หากมีที่ดินทำเลใจกลางเมืองเข้ามาในพอร์ต บริษัทก็ไม่ได้ปิดกั้นที่จะนำเสนอให้สิงห์พิจารณา

วันศุกร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2557

VIBHA

ในการประชุมสามัญประจำปี 2557 จะมีวาระการเพิ่มทุนเข้าพิจารณา


ทำให้ทุนจดทะเบียนชำระแล้วหลังการเพิ่มทุนเป็น 1,329,681,213 หุ้น
---------------------------------------------------------------------------------



วันอังคารที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2557

สถานการณ์ยางตลาดโลก

As Vietnam stretches rubber output, risk of price war grows
Tue, Apr 08 18:14 PM EDT Reuters
By Lewa Pardomuan and Ho Binh Minh


SINGAPORE/HANOI (Reuters) - After years of massive expansion, tearing up forests and swallowing land in neighboring countries to create rubber plantations, Vietnam is reaping what it sowed: a swelling of output that has made it the third-largest rubber producer.
Later this year rubber farmers will tap maturing trees from new plantations, but with global oversupply and limited storage capacity, Vietnam's burgeoning output could spark a price war in a market already at multi-year lows.

With little prospect of government intervention to support prices, Vietnam's rubber farmers will have little choice but to sell, shrugging off industry pleas to hold back and making other leading suppliers, Thailand, Indonesia and Malaysia, nervous.

"Of course we are worried," said Edy Irwansyah, executive secretary of the North Sumatran branch of the Indonesian Rubber Association, which groups exporters in the world's second-largest producer after Thailand. "If supply and demand don't match, then it will definitely weigh on prices."

In 2001, a rebound in rubber prices from 30-year lows of sub-50 cents a ton inspired Vietnam to diversify key agricultural crops and offer loans at low interest rates to farmers to plant rubber trees.

Vietnam's state-run rubber companies also opened plantations in neighboring Laos and Cambodia. The Vietnam Rubber Group, the top exporter, reported its rubber area last year rose 9 percent to 392,000 hectares (968,000 acres), of which 100,000 hectares were in Laos and Cambodia.

In just seven years, the aggressive state-sponsored rubber campaign has seen output rise by 60 percent from 2007's 606,000 tons, according to data from the Association of Natural Rubber Producing Countries (ANRPC), in which Vietnam is a member.

This year, output is forecast to hit nearly 1 million tons, said the International Rubber Study Group, which includes rubber producing and consuming countries and forecasts supply-demand outlook.

And Vietnam's output could rise a further 50 percent near the end of the decade.
"In the next five years (Vietnam) can move up to 1.5 million tons. Trees are already there waiting to mature. You can't ask farmers not to tap once they become mature," said Stephen Evans, secretary-general of the International Rubber Study Group.

PRICE WAR?

Traders well remember 2001 when Vietnam was accused of flooding the coffee market sending global prices to 30-year lows. Coffee farmers now curb sales when prices slip below certain levels, but rubber growers may not have the financial means to hold back.

"I wonder if you could see this kind of discipline in the rubber market. I doubt it. It's still a fairly new industry for them and they still haven't as much money," said Macquarie analyst Kona Haque in London.

Dealers say there could be price war among the main growers as production rises, with farmers possibly scrambling to cash in before any further fall in prices due to oversupply.

"They need cash to feed the family, and they can't afford to hold back because they are smallholders," said an exporter in Indonesia.

Rubber farmer Nguyen Bao in Binh Duong province, just outside Ho Chi Minh City, has no intention of holding back his rubber, citing farm revenues halving in the last two years to 100 million to 120 million dong ($4,700-$5,700) per hectare.

"We do not have alternatives, no other business, so we will have to stick to rubber. Yield has fallen, but I will not sell my rubber land," said Bao, who has farmed around 3 hectares since the 1980s.

Thailand, Indonesia and Malaysia met in February and recommended they should not sell rubber at the current prices. It has asked Vietnam to sell less this year.

But efforts to revive prices could hit a snag without participation from Vietnam, which is not a member of the International Rubber Consortium. The consortium includes major rubber producers such as Thailand, Indonesia and Malaysia and aims to maintain supply-demand balance.

"We have sent a letter to Vietnam Rubber Association, and they replied, supporting our effort not to sell rubber at low prices," said Irwansyah at the Indonesian rubber exporters group. "But whether Vietnam is actually doing it, we need to check their sales volumes."

Tran Ngoc Thuan, chairman of the Vietnam Rubber Association, said the association had proposed that members and domestic entrepreneurs cut natural rubber production in 2014 and avoid selling at levels lower than international prices.
State media reported last month that many farmers were cutting down rubber trees in the central highland province of Dak Nong due to slow sales and a drop in prices.

PRICES UNDER PRESSURE

Although global demand for natural rubber is forecast to grow by 4 percent in 2014, the market will see a surplus of 373,000 tons this year, a fourth year of oversupply, according to Macquarie.

Worries over economic growth and demand from China, which buys 60 percent of Vietnam's rubber, have sent tire grade prices on the Singapore Commodity Exchange to their weakest since mid-2009, below $2 a kg.

The tire-making industry makes up about 60 percent of global rubber consumption. Rubber is also used to make gloves, condoms and products in transport, construction, health and mining.
The global rubber price benchmark on the Tokyo Commodity Exchange is also languishing near 18-month lows because of similar fears.

The ANRPC expects Vietnam's exports to fall slightly in 2014 to 1 million tons from 1.08 million tons in 2013, and while it said domestic consumption will rise, Vietnam's closing stocks may hit a four-year high at 54,200 tons this year.
And there is no sign production will ease.

Top exporter the Ho Chi Minh City-based Vietnam Rubber Group said in a March statement it plans to expand rubber planting by nearly 10 percent to 430,000 hectares (1.06 million acres) by 2015, with at least 100,000 hectares in Laos and Cambodia.

----------------------------------------------------------------------------

คนกรีดเผ่น-จ่อขายสวนนายทุน

วันพุธที่ 23 เมษายน 2014 เวลา 19:08 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ

 ยางราคาตกพ่นพิษ ชาวสวนอ่วม คนรับจ้างกรีดยางเผ่น หนีขายลอตเตอรี่ ชี้ไม่คุ้มขายยางก้อนถ้วย กิโลฯละ 26 บาท ต่ำสุดรอบ 10  ปี เผยบางสวนอาจถึงขั้นต้องขายสวนทิ้งให้แก่นายทุนที่เข้ามากว้านซื้อ ขณะที่งบจ่ายค่าปัจจัยการผลิตยางพาราค้างร่วมแสนรายส่อแห้ว "ยุคล" เผยขัดรัฐธรรมนูญ ลุ้นกกต.ชี้ขาด ขณะตลาดเอเฟท คึกสวนกระแสคนแห่เก็งกำไร ดันโวลุ่มกระฉูด หลังรัฐปล่อยข่าวเทสต๊อก 2.1 แสนตัน

    นายชนะวงศ์  สมมุติ ประธานกลุ่มขายยางบ้านโพนงาม จังหวัดเลย เปิดเผยกับ  "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงสถานการณ์ราคายางพารา ณ วันที่ 21 เมษายน 2557 ว่า ราคายางก้อนถ้วยที่พ่อค้าคนกลางรับซื้อตามหมู่บ้านขณะนี้อยู่ที่กิโลกรัมละ 26 บาท จากก่อนหน้านี้เคยตกต่ำสุดเพียงกิโลกรัมละ 30-31 บาท ทำให้คนรับจ้างกรีดยางในพื้นที่ไม่คุ้มรับจ้าง เวลานี้ส่วนใหญ่ได้หันไปทำอาชีพอื่น ที่นิยมมากสุดคือขายสลากกินแบ่งรัฐบาล (ลอตเตอรี่) ส่งผลให้ชาวสวนต้องลงมือกรีดยางเอง บางรายอาจถึงขั้นต้องขายสวนทิ้งให้แก่นายทุนที่เข้ามากว้านซื้อ เพราะไม่คุ้มที่จะดูแลบำรุงรักษา

    สอดคล้องกับนายบุญส่ง นับทอง นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวถึง ราคายางขณะนี้น่าวิตกและกังวลมาก เนื่องจากราคายางพาราที่ชาวสวนขายได้นั้นใกล้เคียงกับราคาต้นทุนที่ กิโลกรัมละ 64.49 บาท และมีแนวโน้มขายขาดทุนคาดว่าจะขายขาดทุนลากยาว ดังนั้นในส่วนของสมาคมจึงได้พยายามเร่งรัดในส่วนค่าปัจจัยการผลิต ไร่ละ 2.520 พันบาท กับทางกรมส่งเสริมการเกษตรและ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)เร่งรัดให้จ่ายโดยเร็ว ส่วนราคายางก้อนถ้วยที่ชาวสวนขายได้ กิโลกรัมละ 26 บาทนั้นเป็นราคาต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี

ขณะที่นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึง โครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบในปี 2557 ว่า จากที่รัฐบาลได้มีมาตรการระยะสั้นก่อนหน้านี้โดยจะให้เงินอุดหนุนแก่เกษตรกรเป็นค่าปัจจัยการผลิต 2,520 บาทต่อไร่ นั้นในเงื่อนไขตามมติ คณะรัฐมนตี (ครม.) ที่อนุมัติไว้ได้เปิดช่องไว้ว่าหากมีการสำรวจพื้นที่เปิดกรีดจริงและเอกสารถูกต้องนั้นสามารถจ่ายเพิ่มได้นั้น ซึ่งจากการที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้สำรวจพบว่าจะต้องของบกลางเพิ่มกว่า 7 พันล้าน จ่ายชาวสวนร่วมแสนรายนั้น  เป็นพื้นที่ส่วนเกินที่ ครม.มีมติช่วยเหลืออีกรวม 2.44 ล้านไร่นั้นจะต้องนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.)  และเข้าสู่ที่ประชุมครม.ใหม่  แต่ต้องยอมรับว่าเป็นรัฐบาลรักษาการ ทำอะไรไม่ได้เลย เพราะขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 1 วงเล็บ 3ห้ามรัฐบาลรักษาการ ทำงานหรือโครงการที่มีผลผูกพันต่อรัฐบาลชุดใหม่ จะต้องลุ้นว่าชาวสวนพื้นที่เกินนั้นจะต้องรอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)พิจารณาว่าจะอนุมัติหรือไม่ 

    ด้านสถาบันวิจัยยาง รายงานราคายาง ณ วันที่ 21 เมษายน 2556  ตลาดกลางยางพาราสงขลาปรับตัวลดลงทั้งยางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควัน แตะระดับ 62.03 บาทต่อกิโลกรัม และ 65.01 บาทต่อกิโลกรัมตามลำดับ ปรับตัวลดลง 3.00 บาทต่อกิโลกรัม และ 2.18 บาทต่อกิโลกรัมตามลำดับ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียวและเซี่ยงไฮ้ที่ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 5 ปี เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว 6 ไตรมาสติดต่อกัน ส่งผลให้ความต้องการใช้ยางลดลงด้วย ประกอบกับมีการประมาณการผลผลิตส่วนเกินปี 2557 อยู่ที่ 6.52 แสนตันสูงกว่าที่ประมาณการในเดือนธันวาคม 2556 ที่ 3.66 แสนตัน ขณะที่ความต้องการใช้ยังคงอ่อนแอ อย่างไรก็ตาม สต๊อกยางจีน ณ ตลาดล่วงหน้าเซี่ยงไฮ้ที่ปรับลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 1.70 แสนตัน (18 เม.ย.57) และการเริ่มเปิดกรีดในหลายพื้นที่ ต้นยางยังให้ผลผลิตไม่เต็มที่ ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง

    ขณะที่ ดร.ไพฑูรย์ วงศาสุทธิกุล กรรมการผู้จัดการ บจก. แอโกรเวลท์ และนายกสมาคมนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย หรือ เอเฟท กล่าวถึง สถานการณ์การซื้อขายผลิตภัณฑ์ยางพาราในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย หรือ เอเฟท เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า หลังจากรัฐบาลปล่อยข่าวว่าจะมีการระบายยางในสต๊อก จำนวน 2.1 แสนตัน จึงทำให้มีนักเก็งกำไรมาซื้อขายยางพาราในตลาดเป็นจำนวนจำนวนมาก โดยเฉลี่ยกว่า 200-300 สัญญาต่อวัน จากปกติปริมาณซื้อขายยางในตลาดโดยเฉลี่ยต่อวัน 100 สัญญา ส่วนมูลค่าก็เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยวันละกว่า 100 ล้านบาท จากปกติมูลค่าต่อวันเพียงแค่ 1 ใน 3 เท่านั้น 
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,942 วันที่ 24 - 26 เมษายน พ.ศ. 2557

วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557

SUTHA

ตารางผลประกอบการสำคัญ




ICHI

ตารางผลประกอบการสำคัญ


งบกำไรขาดทุน

ปี 56 สามารถเพิ่มยอดขายได้มาก แต่ค่าใช้จ่ายในการขายก็มากด้วย ผลก็คือกำไรก่อนภาษีเงินได้เพิ่มเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คือเพิ่มจาก 825.2 ล้านบาทในปี 55 เป็น 883.7 ล้านบาทในปี 56 ส่วนที่ทำให้กำไรสุทธิมากขึ้น คือในปี 56 ไม่มีรายการค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ ส่วนปี 55 มีรายการค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ 132.298 ล้านบาท  ส่วนลดภาษีเงินได้ ซึ่งไม่มีรายละเอียด (ดูรายละเอียดในรูปที่2)



รูปที่ 1 งบกำไรขาดทุน ปี 56

รูปที่ 2 รายละเอียดรายการภาษีเงินได้



รูปที่ 3 ค่าโฆษณาและส่งเสริมการขายเพิ่มจาก 472.7 ล้านบาทในปี 55 เป็น 889.97 ล้านบาทในปี 56 เพิ่มขึ้น 417.27 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 88.3 %


----------------------------------------------------------------------------

ประเมินราคาที่เหมาะสมปี 57 

เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2557

จากการที่อิชิตันเข้าเทรดในตลาด ผู้เขียนจึงอยากจะทราบราคาที่เหมาะสมสำหรับปี 57 จึงทำการวิเคราะห์ โดยมีรายละเอียดังนี้

โครงสร้างรายได้
ในปี 2556 มีรายได้รวม  6531.8 ล้านบาท มีค่าใช้จ่าย 5486.6 ล้านบาท และมีต้นทุนทางการเงิน 161.6 ล้านบาท ทำให้มีกำไรสุทธิ 883.7 ล้านบาท

สภาพตลาดชาเขียว
ระหว่างปี 53-55 ตลาดชาเขียวมีการเติบโต 21-40 เปอร์เซนต์ 

ข้อสมมุติฐาน
1. ตลาดชาเขียวปี 57 โตขึ้นจากปี 56 ที่ 20%
2. อิชิตันสามารถรักษาส่วนแบ่งการตลาดไว้ได้เท่าเดิม
3. โครงสร้างรายจ่าย เหมือนปี 56 แต่ต้นทุนทางการเงินจะลดลงจนเป็นศูนย์

คาดการณ์ ผลประกอบการ
คาดว่า อิชิตันจะมีรายได้ประมาณ 7838 ล้านบาท โดยมีค่าใช้จ่าย 6583.9 ล้านบาท ดังนั้นจะมีกำไรก่อนภาษีเงินได้เท่ากับ 1254 ล้านบาท ประมาณกำไรสุทธิเท่ากับ 1,066 ล้านบาท ดังนั้นกำไรสุทธิต่อหุ้นจะเท่ากับ 0.82 บาท

ประเมินราคาตลาด
ค่า PER ของบริษัทที่่ทำธุรกิจคล้ายคลึงกับ อิชิตัน 
- HTC  มีค่า PER = 13.63
- OISHI มีค่า PER =  36.42 (มีรายได้จากร้านอาหารอยู่ด้วยประมาณ 49%)

ถ้ากำหนดให้ค่า PER อยู่กลางๆ ก็น่าจะแถวๆ 20-25 

ดังนั้น Target Price สำหรับปี 57 น่าจะอยู่แถวๆ 16.4- 20.5 บาท

---------------------------------------------------------------------------------

ผลประกอบการไตรมาส 1/57

บริษัทฯ มีรายได้จากการขาย 1496.98 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 1/56 ที่มีรายได้จากการขาย 1631.71 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1294.97 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 1/56 ที่มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1498.09 ล้านบาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 202.39 ล้านบาท จากไตรมาส 1/56 ที่มีกำไร 176.12 ล้านบาท กำไรต่อหุ้นไตรมาส 1/57 อยู่ที่ 0.16 บาท เมื่อคิดจำนวนหุ้นเท่ากับ 1300 ล้านหุ้นเทียบกับไตรมาส 1/56 ที่ 0.18 บาท เมื่อคิดจำนวนหุ้นเท่ากับ 1000 ล้านหุ้น
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------