วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เรื่องเก่าเล่าใหม่ "มูลค่าที่แท้จริงของกิจการ"

ผมได้เขียนเรื่อง "มูลค่าที่แท้จริงของกิจการ" ไว้นานแล้ว เห็นว่ายังใช้ได้ดี เลยนำมาเล่าใหม่อีกครั้งครับ
-----------------------------------------------------------------------------------------------
มูลค่าที่แท้จริงของกิจการ
วันนี้ก็เป็นวันที่การทำ Tender Offer บริษัท เสริมสุข จบลงไปแล้ว ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ก็น่าจะใช้เป็นตัวอย่างในการศึกษามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ สำหรับนักลงทุนประเภท VI กัน ผมมีกรณีศึกษาอีกสองกรณี กรณีแรก SGP เข้าซื้อกิจการ Chevron Ocean Gas & Energy Ltd. "COGEL" ส่วนอีกกรณีคือกรณี OISHI

กรณี SSC นั้น IFA สรุปราคายุติธรรมไว้ดังนี้

1. วิธีราคาตลาดย้อนหลัง ราคายุติธรรมเท่ากับ 14.06-20.20 บาท
2. วิธีมูลค่าทางบัญชี ราคายุติธรรมเท่ากับ 24.75 บาท
3. วิธีปรับปรุงมูลค่าทางบัญชี ราคายุติธรรมเท่ากับ 39.00 บาท
4. วิธีเปรียบเทียบอัตราส่วนมูลค่าตลาด แบ่งออกเป็น
4.1 วิธีอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น ราคายุติธรรมเท่ากับ 35.2 - 47.1 บาท
4.2 วิธีอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น ราคายุติธรรมเท่ากับ 15.61 -33.42 บาท
4.3 วิธีอัตราสวนมูลคาของกิจการต่อกําไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายภาษีเงินได้ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดจําหน่าย ราคายุติธรรมเท่ากับ 38.75 - 46.48 บาท
5 . วิธีมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดสุทธิ ราคายุติธรรมเท่ากับ 39.00 บาท

แล้วสรุปว่า ราคายุติธรรมอยู่ระหว่าง 39.3 - 41.9 บาท ด้วยเหตุผลหลายอย่างครับ เช่น ราคาโดยวิธีราคาตลาดย้อนหลังมีข้อจำกัด หรือ วิธีมูลค่าทางบัญชีมีข้อจำกัด หรือ ราคาโดยวิธีมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดสุทธิมีความเหมาะสมเพราะเป็นวิธีที่สะท้อนผลการดำเนินงานและผลกำไรของบริษัทฯในอนาคต

กรณี SGP เขาเขียนไว้ในรายงานที่เสนอต่อ ตลท ดังนี้ครับ
SGP เข้าซื้อกิจการ COGEL ด้วยเงินจำนวน 51 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1,750 ล้านบาท ที่อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญ ต่อ 34.314 บาท SGP คำนวณมูลค่าของ COGEL ด้วยวิธีคิดลดกระแสเงินสดจากกิจการดำเนินงาน ( Discounted Cash Flow ) ที่นี้ลองดูผลประกอบการของ COGEL บ้างว่าเป็นอย่างไร 


จะพบว่า การคำนวณมูลค่าบริษัทด้วยวิธี Discounted Cash Flow นั้นมองไปในอนาคต และประมาณความสามารถในการทำกำไรในรูปของเงินสดแล้วคิดลดมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน เพราะในปี 2551 นั้น COGEL มีหนี้สินรวมมากกว่าทรัพย์สินคิดเป็น 2.8 เท่า

อีกกรณีหนึ่งคือกรณีที่ OISHI ถูกขายออกไป ให้กับ บริษัท นครชื่น จำกัด ที่ราคา 32.5 บาท โดยขายผ่านกระดาน Big Lot ในวันที่ 26 ม.ค.2549 และอีกส่วนหนึ่งขายให้กับ บริษัท Bengena International Ltd. และเมื่อตรวจสอบตัวเลขสำคัญของผลประกอบการปี 2548 จะมีดังนี้

ASSET = 2728.86 MTHB
Liability = 787.03 MTHB
Equity = 1941.83 MTHB
Paid Up Capital = 375.00 MTHB
PAR Value = 2.00 THB
Number of Share = 187.500 Mshare

Revenue = 4682.23 MTHB
Net Profit = 624.07 MTHB
ROA = 25.69
ROE = 36.21
Net Profit Margin = 13.33 %

EPS = 3.32 THB
P/E = 9.78 at Market Price 32.50 THB
Book Value = 10.35 THB
P/BV = 3.14 at Market Price 32.50 THB



สรุปว่า การหามูลค่าที่แท้จริงของบริษัทฯ ผมคิดว่าอาจเป็น "ราคาที่เจ้าของกิจการพอใจ" เพราะการจะใช้ราคาใดนั้น อาศัยการประมาณการ และเหตุผลที่ผู้ประเมินคิดขึ้นมาเท่านั้น ซึ่งไม่แตกต่างจากเวลาเราไปซื้อของตามตลาดสด เพราะเมื่อเราเห็นสินค้า เราคงต้องประเมินราคาว่าเจ้าสินค้านั้นควรจะมีราคาเท่าใด และเมื่อต่อรองราคาพอใจกันแล้วจึงมีการซื้อขายเกิดขึ้น


Create Date : 12 มิถุนายน 2553
Last Update : 13 มิถุนายน 2553 11:57:09 น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น