วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

NOK

"นกแอร์" ตั้งบริษัทใหม่ "นกฮอลิเดย์" ขยายบริการท่องเที่ยวเดินทาง พร้อมรายงานผลประกอบการไตรมาส 3/2556
ไทยรัฐออนไลน์ 8 พฤศจิกายน 2556, 11:45 น.

เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 56 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด หรือ NOK ผู้บริหารสายการบินนกแอร์ รายงานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) โดยระบุว่า คณะกรรมการบริษัท มีมติอนุมัติจัดตั้งบริษัทเพื่อขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ชื่อ บริษัท นกฮอลิเดย์ จำกัด โดย NOK ถือหุ้น 49% และผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดาอีก51% โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหา ให้บริการ หรืออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการเดินทาง สถานที่พัก อาหาร ทัศนาจร และมัคคุเทศก์ ให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการขออนุญาตจดทะเบียนตั้งบริษัทกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผลประกอบการ ไตรมาส3/2556 มีกำไรสุทธิ 244.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 210.50 ล้านบาท ในไตรมาส3/2555 ส่วนงวด9 เดือน มีกำไรสุทธิ 920.58 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 330.04 ล้านบาท ในงวดเดียวกับปีก่อน.
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Non-Blinding MOUจัดตั้งสายการบินราคาประหยัดระยะกลางและระยะไกล


นกแอร์ไฟเขียวตั้ง'นกสกู๊ต'บินระยะกลาง-ไกล

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 16 ธันวาคม 2556

บอร์ดนกแอร์ไฟเขียวตั้งสายการบินราคาประหยัด "นกสกู๊ต" สำหรับเส้นทางบินระยะกลาง-ระยะไกลในเส้นทางการบินต่างประเทศ

นายปัญญา ชุติสิริวงศ์ เลขานุการบริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) NOK รายงานว่า ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) NOK เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2556 ได้อนุมัติลงนามในบันทึกความตกลงแบบไม่มีเงื่อนไขผูกพัน (MOU) จัดตั้งสายการบินราคาประหยัด ชื่อ บริษัท นกสกู๊ต จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจสายการบินราคาประหยัด สำหรับเส้นทางบินระยะกลางและระยะไกลในเส้นทางการบินต่างประเทศ ด้วยเครื่องบินแบบ Wide Body เงินลงทุนเบื้องต้น 2 พันล้านบาท โครงสร้างการถือหุ้นเบื้องต้น บริษัทไม่เกิน 51% และ Scoot PTE.LTD 49%
ทั้งนี้ การลงนามดังกล่าวนี้ เป็นเพียงบันทึกความตกลงที่ไม่มีเงื่อนไขผูกพันระหว่างคู่สัญญา อีกทั้งการจัดตั้งบริษัทร่วงลงทุนใหม่ยังขึ้นอยู่กับผลการเจรจาการภารขออนุมัติ และการดำเนินการตามขั้นตอนของกฏหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเกณฑ์การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินของสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หากมีความคืบหน้าใดๆ เกี่ยวกับการร่วมลงทุนครั้งนี้ บริษัทฯจะแจ้งให้ท่านนักลงทุนทราบผ่านช่องทางการเผยแพร่ข้องมูลของตลาดหลักทรัพย์ต่อไป
-------------------------------------------------------------------------------------















ที่มา : หนังสือชี้ชวน สำหรับ IPO
----------------------------------------------------------------------------------------

"นกแอร์"เดินหน้าบุกเมืองรอง-เล็ก ยันไม่เล่นสงคราม"ตั๋วถูก"แข่งโลว์คอสต์แอร์ไลน์
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์  updated: 04 ธ.ค. 2556 เวลา 11:36:37

"นกแอร์" เมินสงครามราคาตั๋วบินโลว์คอสต์ปี"57 เผยเลี่ยงปะทะ "ไทยแอร์เอเชีย-ไทยไลอ้อนแอร์" เดินหมากตามเกมตัวเอง เพิ่มเครื่องบินกลาง-ใหญ่อีก 6 ลำในปีหน้า ตามกลยุทธ์เจาะเมืองรอง-เมืองเล็กต่อเนื่อง คาดสิ้นปียังกำไรตามเป้า 1.2 พันล้านบาท แม้เจอปัจจัยการเมืองป่วนท่องเที่ยว
นายปัญญา ชุติสิริวงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงทิศทางและภาพรวมของสายการบินโลว์คอสต์ในปี 2557 ว่า ยังเป็นตลาดที่มีการขยายตัวสูงมากขึ้น ขณะเดียวกัน ยังเป็นตลาดที่แข่งขันทางด้านราคาสูงด้วยเช่นกัน เนื่องจากมีคู่แข่งเป็นสายการบินหน้าใหม่อย่างไทยไลอ้อนแอร์ ซึ่งเดินหน้ากลยุทธ์การหั่นราคาตั๋วบินเพื่อเปิดตลาดดึงกลุ่มผู้โดยสารเดินทางครั้งแรกเกิดขึ้นใหม่อีกรายโดยเชื่อว่าไม่ส่งผลกระทบต่อสายการบินนกแอร์มากนัก เพราะนกแอร์ไม่ได้โฟกัสตลาดจุดหมายปลายทางสำหรับการท่องเที่ยวซึ่งนกแอร์จะเน้นพัฒนาเส้นทางบินและบริการใหม่ให้แตกต่างจากโลว์คอสต์รายอื่น ๆ และจะไม่แข่งขันด้านราคา "นกแอร์เรามีตลาดของเราชัดเจนตามกลยุทธ์การขยายจุดบินไปยังเมืองรองและเมืองเล็กด้วยเครื่องบินขนาดกลาง"

สำหรับแผนการทำตลาดในปี 2557 นั้น นายปัญญากล่าวว่า นกแอร์จะยังคงเป็นผู้นำตลาดในด้านจำนวนเส้นทางบินที่ครอบคลุมในไทยมากที่สุด จากปัจจุบันที่มี 24 เส้นทางบินในประเทศ และ 3 เส้นทางบินระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีแผนหาเครื่องบินขนาดกลางมาเสริมทัพเพิ่มในช่วงครึ่งปีหลัง โดยจะเพิ่มอีก 2 ลำ  จากปัจจุบันที่มีอยู่ 2 ลำ และเครื่องบินขนาดใหญ่ (โบอิ้ง B737-800) อีก 4 ลำ ในเดือนมีนาคม มิถุนายน กันยายน และตุลาคม รองรับการเติบโตของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ จะทำให้นกแอร์มีฝูงบินทั้งหมด 27 ลำ ในปี 2557 และเพิ่มเป็น 33 ลำในปี 2558



ส่วนแผนเพิ่มเส้นทางบินใหม่ในประเทศ เตรียมเปิดให้บริการเส้นทางกรุงเทพฯ-กระบี่ 1 มกราคมหน้า ส่วนเส้นทางระหว่างประเทศ เตรียมบินกรุงเทพฯ-โฮจิมินห์ ช่วงไตรมาส 4 ปีหน้า ขณะที่เส้นทางไปจีน อาทิ เฉิงตู, หนานจิง, ซีอาน ปัจจุบันบินเส้นทางดังกล่าวนี้บางส่วน ที่เปิดเป็นเที่ยวบินเหมาลำ และยังอยู่ระหว่างการศึกษาเปิดเป็นเที่ยวบินประจำ

"หลักการไปโตตลาดระหว่างประเทศของนกแอร์ จะเน้นไปตลาดที่มีการพัฒนาแล้ว เช่น เมียนมาร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตลาดนักท่องเที่ยวคนไทยขาออก หรือเอาต์บาวนด์ใน 9 เดือนที่ผ่านมามีคนไทยไปย่างกุ้งกว่า 8 แสนคนแล้ว จากจำนวนผู้โดยสารทั้งหมด 1.6 ล้านคน ทำให้ปีหน้านกแอร์ มีแผนเพิ่มเที่ยวบินกรุงเทพฯ-ย่างกุ้ง เป็น 2 เที่ยวบินต่อวัน"

นายปัญญากล่าวเพิ่มเติมถึงผลการดำเนินงานและผลประกอบการในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ว่ามีรายได้อยู่ที่ 8,216 ล้านบาท เติบโต 40% อัตราการบรรทุกผู้โดยสารอยู่ที่ 86.1% มีกำไรสุทธิที่ 921 ล้านบาท เติบโต 136% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้ นกแอร์ยังมีส่วนแบ่งตลาดโลว์คอสต์ในประเทศเป็นอันดับ 1 ที่ 48.8% รองลงมาคือไทยแอร์เอเชียอยู่ที่ 48.3% 

"เราคาดว่ารายได้ในปีนี้จะโตประมาณ 40% ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มการเพิ่มขึ้นปริมาณที่นั่งโดยสารในช่วง 9 เดือนแรกที่โตในอัตราเดียวกัน และถ้าสถานการณ์การเมืองไม่ลากยาว น่าจะมียอดผู้โดยสารที่ 5.5 ล้านคน ปิดกำไรได้ที่ 1,200 ล้านบาทตามเป้า เพราะมีบรรยากาศการเดินทางช่วงไฮซีซั่นเข้ามาช่วย" นายปัญญากล่าว

--------------------------------------------------------------------------
เปิดโมเดล 'นกสกู๊ต' ดีลที่ได้มากกว่าเสีย
วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2013 เวลา 12:48 น ฐานเศรษฐกิจ

การเตรียมเซตอัพ โลว์คอสต์ แอร์ไลน์ส ใหม่ในประเทศไทย อย่าง "นกสกู๊ต" (Nok Scoot) ที่จะเกิดขึ้นในกลางปีหน้า จากความร่วมมือระหว่าง "นกแอร์"และ"สกู๊ต" หลายคนอาจจะอดหันกลับไปเปรียบเทียบ "ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส" ที่แท้งไปเสียก่อนไม่ได้ ทั้งๆที่สมัยนั้นดีดี ปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ ทั้งผลักทั้งดันถึงขั้นเซ็นเอ็มโอยู เมื่อสิงหาคมปี 2553 ถึงแผนร่วมทุนระหว่างการบินไทย และไทเกอร์ แอร์เวย์ส ก็จะไม่ให้นึกเทียบกันได้อย่างไร เพราะตัวละครนำของเรื่อง ก็ผูกโยงกันอยู่ระหว่าง "การบินไทย"และ"สิงคโปร์ แอร์ไลน์ส" ด้วยความที่การบินไทย เองก็ถือหุ้นอยู่ในนกแอร์ ขณะที่สิงคโปร์ แอร์ไลน์ส ก็ถือหุ้นอยู่ในไทเกอร์ แอร์เวย์ส ราว 30 % และสกู๊ต  100%

    แต่นาทีนี้ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป จากการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ของการจัดตั้งโลว์คอสต์ แอร์ไลน์สในประเทศไทยเพิ่มขึ้น เพื่อช่วงชิงโอกาส การเปิดน่านฟ้าเสรี ที่ทำให้สิทธิการบินที่เคยถูกหวงแหนของประเทศต่างๆนับวันจะถูกลดลงบทบาทการครอบครองลงไป ภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี)  และที่สำคัญคือการบริหารจัดการองค์กรที่มีความคล่องตัวแตกต่างกัน เพราะนกแอร์ เป็นบริษัทจำกัด ขณะที่การบินไทยเป็นรัฐวิสาหกิจ


++นกสกู๊ตชนไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์         

    ทำให้โมเดลของนกสกู๊ต ที่จะเกิดขึ้น ดูจะฉลุย และมีแนวโน้มทางธุรกิจที่สดใส มีศักยภาพเพียงพอที่จะต่อสู้กับแอร์เอเชีย กรุ๊ป ที่ก็กำลังเตรียมเซตอัพ ไทย แอร์เอเชีย เอ็กซ์ เพื่อเข้าชิงสมรภูมิน่านฟ้าไทยในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า
    "แผนการจัดตั้งสายการบินต้นทุนต่ำระดับมีเดียม ลองฮอลล์ (เส้นทางบินระยะกลางและระยะไกล) ผมก็มองอยู่มานาน เพราะมองว่าเป็นการขยายการให้บริการที่มีโอกาสในการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น และเมื่อเห็นว่า ไทย แอร์เอเชีย เอ็กซ์ จะเปิดให้บริการ ก็มองเห็นว่าจำเป็นที่เราต้องลงมือทำจริงจัง ประกอบกับเมื่อได้สกู๊ต เข้ามาร่วมมือกัน ก็ถือเป็นโอกาสที่จะทำให้เราก้าวไปได้เร็ว" นายพาที กล่าว

    ขณะที่นายแคมป์เบล วิลสัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสกู๊ต ก็มองว่า "ประเทศไทยถือเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญของนักท่องเที่ยว และถือเป็นฮับสำคัญในภูมิภาคที่สกู๊ตให้ความสำคัญ การตั้งนกสกู๊ต เพื่อให้บริการเส้นทางบินระยะกลางและระยะไกล ด้วยเครื่องบินแบบลำตัวกว้างซึ่งสกู๊ตมีความพร้อมในส่วนนี้อยู่แล้ว เราต่างหวังว่าการร่วมมือกันครั้งนี้จะพัฒนาตลาดการบินในภูมิภาค และเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทางทั้งชาวไทยและต่างชาติได้มากขึ้น"

++นกสกู๊ตโฟกัส 3 เมืองหลัก

    นี่จึงเป็นที่มาที่ นกแอร์ ได้มีการร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงกับ Scoot Pte Ltd ซึ่งเป็นเจ้าของสายการบินสกู๊ต จัดตั้งสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย ในนาม "นกสกู๊ต"  โดยนกแอร์ถือหุ้นไม่เกิน 51% และ Scoot ถือหุ้น 49 % มูลค่าการลงทุนคาดว่าจะอยู่ที่ราว 2 พันล้านบาท โดยนกแอร์ ลงทุนราว 1 พันล้านบาท ซึ่งเป็นเงินจากกระแสเงินสดของบริษัทที่ปัจจุบันมีอยู่ราว 5 พันล้านบาท

    ทั้งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาและการขออนุมัติ รายละเอียดของฝูงบิน การให้บริการ และเส้นทางบินต่างๆ คาดว่าจะเปิดให้บริการได้กลางปีหน้า และจากการหารือเบื้องต้นนกสกู๊ต จะทำการบินด้วยเครื่องบินโบอิ้ง777-200 เริ่มต้นจำนวน 2 ลำ ทำการบินในเส้นทางบินจากสนามบินดอนเมืองสู่ ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน

    แม้ชื่อของ สกู๊ต อาจจะใหม่สำหรับคนไทย เพราะเป็นสายการบินที่ตั้งขึ้นมาไม่นาน และเพิ่งเปิดทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2555 ในเส้นทางบินสิงคโปร์-ซิดนีย์ แต่สายการบินนี้ ต้องถือว่ามีความแข็งแกร่งมาก หากเทียบกับไทเกอร์ แอร์เวย์ส และปัจจุบันสกู๊ต ทำการบินแล้วกว่า 8 เมือง โดยใช้สนามบินชางงี เป็นฐานการบินสู่เมืองโกลด์โคสต์ , ซิดนีย์,ชิงเต่า , เสิ่นหยาง, เทียนจิน, กรุงเทพฯ,ไทเป และโตเกียว

    ดังนั้นการที่นกแอร์ ได้ร่วมมือกับสกู๊ต ก็ถือเป็นการสร้างจุดแข็งในการจัดตั้งนกสกู๊ตได้เป็นอย่างดี และจังหวะของการจัดตั้งนกสกู๊ต เพื่อเปิดให้บริการโลว์คอสต์ระยะไกล โฟกัส จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ก็ตอบโจทย์ตลาดได้เป็นอย่างดีทั้งดีมานด์นักท่องเที่ยวขาเข้าและขาออก ที่เพิ่มขึ้นจากเปิดยกเว้นวีซ่าของสถานทูตญี่ปุ่น รวมถึงแนวโน้มการยกเว้นวีซ่าของสถานทูตจีน ที่ก็มีโอกาสจะเป็นไปได้ในอนาคต ตรงข้ามกับแผนการจัดตั้งไทย ไทเกอร์ ในสมัย ที่แม้จะเป็นโลว์คอสต์ระยะสั้น แต่สังคมก็ยังมีคำถามถึงการซ้ำซ้อนของการให้บริการที่จะเกิดขึ้นระหว่างนกแอร์ และไทย ไทเกอร์ เพราะต่างก็ถือเป็นโลว์คอสต์ระยะสั้นเหมือนกัน และไหนจะยังการดำเนินธุรกิจของไทเกอร์ เองที่ง่อนแง่นในช่วงนั้น

++โมเดลธุรกิจต่างกันสุดขั้ว

    แต่ทั้งนี้ชนวนเหตุที่ไทยไทเกอร์ ต้องกินแห้วและได้รับเสียงค้านอย่างมาก แตกต่างจากนกสกู๊ต จุดหลักน่าจะอยู่ที่ผลประโยชน์ในการเจรจาของการร่วมลงทุน ที่ไม่ได้ Win Win ทั้งสองฝ่ายเท่าที่ควรเพราะเอ็มโอยูที่การบินไทยจะร่วมลงทุนกับไทเกอร์ กลับกลายเป็นว่าดูเหมือนการบินไทย จะต้องเสียในเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายค่าแบรนด์ไทเกอร์ แอร์เวย์ส ที่อยู่ที่ 5 หมื่นดอลลาร์สิงคโปร์(ราว 1 ล้านกว่าบาท)ต่อเครื่องบิน 1 ลำต่อเดือน การกำหนดว่าให้มอบสิทธิให้ไทเกอร์ แอร์เวย์ส จัดหาเครื่องบินเพื่อให้เช่าจำนวน 10 ลำสำหรับ 3 ปีแรก รวมทั้งการจัดซื้อร่วมกับบริษัทแม่ในสิงคโปร์ การให้ไทเกอร์ เป็นผู้จัดทำแผนธุรกิจ 3 ปี

    สวนทางกับเกมในการเจรจาผลประโยชน์ในการร่วมลงทุนของนกสกู๊ต ก็ดูมีภาษีกว่า เพราะนกแอร์ มีการหารือร่วมกันถึงแผนในการเข้ามาร่วมบริหารจัดการในสายการบินใหม่นี้ด้วยในฐานะที่ถือหุ้นอยู่ 51% ไม่ต้องเสียค่าใช้แบรนด์ เพราะใช้แบรนด์ของนกแอร์ การทำตลาดเอง การจัดหาเครื่องบิน ก็ไม่ได้ปิดกั้นว่าต้องเช่าเครื่องบินของสกู๊ตเท่านั้น แต่สามารถหาเช่าที่อื่นได้หากมีต้นทุนที่ต่ำกว่า เนื่องจากสกู๊ต มีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระแยกออกจากสิงคโปร์ แอร์ไลน์สอย่างชัดเจน และถ้าจะว่าไปแล้วก็เป็นโมเดล ที่ไม่เหมือนกับโลว์คอสต์อื่นๆด้วย เพราะอย่าง ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ ที่จะเกิดขึ้น เครื่องบินก็ต้องเช่าจากแอร์เอเชีย เอ็กซ์ มาเลเซีย การทำตลาดก็เป็นการออกโปรโมชันโดย แอร์เอเชีย เบอร์ฮาด มาเลเซีย

    ดังนั้นการเกิดขึ้นของนกสกู๊ต ก็ดูจะเป็นคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อ กับ ไทย แอร์เอเชีย เอ็กซ์ ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้านี้
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Nok Air to buy 15 B-737s
Bangkokpost   Published : 12 Feb 2014

Thai budget carrier Nok Air on Wednesday committed to buying 15 B-737s from Boeing at a cost of $1.45 billion (47.39 billion baht).

The commitment, announced at the Singapore Airshow, is for eight next-generation 737-800s and seven 737 MAX 8s, Nok Air and Boeing said.
"This commitment is a major step in our growth strategy," Nok Air chief executive Patee Sarasin said in a statement.
"The 737 is the backbone of our fleet and will continue to be in the future."
Speaking at a news conference, Mr Patee said that his airline would order more planes in the future but would take a more cautious approach compared to other low-cost carriers.
"There are going to be more aircraft coming in," he said.
"We have a lot of competitors who love to buy 200 or 300 aircraft," he said, citing Tony Fernandes, the chief executive of Malaysian budget carrier AirAsia.
"He bought so many aircraft, and currently he doesn't know where to fly to. Our strategy will not be the same as Tony Fernandes," he added.
"We actually plan our strategy in terms of destinations we fly to first, before we order our aircraft."

Shares of Nok (NOK) closed the morning session on the Stock Exchange of Thailand at 18.20 baht, unchanged, in trade worth 5.5 million baht.
----------------------------------------------------------------------------------------
ตารางผลประกอบการสำคัญ


-----------------------------------------------------------------------------------
การจัดตั้ง NOK SCOOT
ที่มา : ความเห็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ บริษัทหลักทรัพย์ ทรินีตี้ จำกัด 
6 มีนาคม 2557








"โลว์คอสต์" บุก "ญี่ปุ่น-เกาหลี" ระเบิดศึก"ตั๋วถูก"ชนการบินไทย

updated: 17 เม.ย 2557 เวลา 13:28:16 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
3 ยักษ์โลว์คอสต์ "ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์-นกสกู๊ต-ไทยไลอ้อนแอร์" ประกาศแลกหมัดบนสังเวียนบินระยะกลาง-ไกล "ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์" พร้อมเทกออฟพฤษภาคมนี้ ส่วน "นกสกู๊ต" ลั่นไตรมาส 3 เปิดแน่ ขณะที่ "ไทยไลอ้อนแอร์" ตั้งเป้าอีก 2 ปีเดินหน้าลุย หลังฐานบินเมืองไทยแน่น เผยทุกค่ายมุ่งเจาะตลาด "ญี่ปุ่น-เกาหลี-จีน" เอาใจคนไทย จับตาสงครามราคาระเบิดอีกรอบ คาดเค้กก้อนใหญ่ "การบินไทย" สะเทือน
ความเคลื่อนไหวของธุรกิจสายการบินที่น่าจับตามองในขณะนี้ คือ การเปิดศึกชิงน่านฟ้าของสายการบินต้นทุนต่ำ หรือโลว์คอสต์แอร์ไลน์ ที่หันมารุกตลาดการบินระยะกลาง-ไกล (Medium Haul / Long Haul) หรือใช้เวลาบินประมาณ 4-8 ชั่วโมง ซึ่งล่าสุด สายการบินไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ และนกสกู๊ต มีแผนจะเปิดให้บริการในเร็ว ๆ นี้ จากเดิมที่เน้นการใช้บริการเฉพาะเส้นทางภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก และคาดว่าตลาดนี้จะมีศักยภาพและมีแนวโน้มเติบโตที่ดี เนื่องจากปัจจุบันนักเดินทาง ท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้หันมาใช้บริการโลว์คอสต์มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ทำให้สายการบินอื่น ๆ กล้าตัดสินใจที่จะกระโดดเข้าสู่ตลาดโลว์คอสต์ลองฮอลมากขึ้น



โลว์คอสต์บุกเส้นทางบินลองฮอล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมาสายการบินไทย แอร์เอเชีย ได้เปิดตัวสายการบินใหม่ ภายใต้ "ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์" สำหรับทำการบินระยะกลางและระยะไกล และได้รับอนุมัติใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศจากกรมการบินพลเรือนแล้วเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พร้อมทั้งได้แต่งตั้งนายนัดดา บุรณศิริ เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคาดว่าไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์จะเปิดให้บริการในเดือนพฤษภาคมนี้

นอกจากนี้ยังมีสายการบิน "นกสกู๊ต" บริษัทร่วมทุนระหว่างสายการบินนกแอร์และสกู๊ต สายการบินราคาประหยัดในกลุ่มสิงคโปร์ แอร์ไลน์ส เพื่อเปิดเส้นทางบินโลว์คอสต์สำหรับเส้นการบินลองฮอล คาดว่าน่าจะเปิดให้บริการได้ในช่วงไตรมาส 3 นี้ ขณะที่ไทยไลอ้อนแอร์ สายการบินสัญชาติอินโดนีเซียที่ได้เข้ามาเปิดตลาดในเมืองไทย และใช้ฐานการบินที่ดอนเมืองเมื่อปลายปีที่ผ่านมาก็มีแผนเปิดเส้นทางบินลองฮอลด้วยเช่นกัน

แหล่งข่าวจากวงการการบินโลว์คอสต์แสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า การทยอยเปิดตัวของ 3 สายการบินดังกล่าวจะทำให้การแข่งขันของโลว์คอสต์แอร์ไลน์เปลี่ยนโฉมหน้าไป จากเดิมที่การแข่งขันของเส้นทางภายในประเทศและเส้นทางประเทศเพื่อนบ้านจะมีความรุนแรงก็จะขยายวงไปถึงเส้นทางบินระยะกลาง ซึ่งใช้เวลาบินประมาณ 4-6 ชั่วโมง และเส้นทางบินระยะไกลที่ใช้เวลาบินประมาณ 6-8 ชั่วโมง"

"ไทยแอร์ฯ-นกสกู๊ต" คู่เปิดสนาม

แหล่งข่าวระดับสูงจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้สายการบินไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์มีเครื่องบินเข้ามาแล้ว 2 ลำ เป็นเครื่องบินแอร์บัส A330-300 จำนวน 377 ที่นั่ง จากเดิมมีแผนจะเปิดให้บริการเที่ยวบินประจำใน 3 เส้นทางในภูมิภาคเอเชียเหนือในช่วงไตรมาสแรก แต่ต้องเลื่อนออกไปก่อนเนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่เอื้อ และต้องหันมาทำตลาดด้วยการขายแบบเช่าเหมาลำ (ชาร์เตอร์ไฟลต์) ในช่วงเดือนเมษายนนี้ และคาดว่าจะเปิดให้บริการเที่ยวบินประจำได้ในเดือนพฤษภาคมนี้ คาดว่าเส้นทางแรกที่เปิดให้บริการคือ เกาหลี ญี่ปุ่น ซึ่งล่าสุดไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์เตรียมแถลงข่าวเปิดตัวสายการบินและเส้นทางบินอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 เมษายนนี้

ขณะที่นายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินนกแอร์กล่าวว่า ตลาดโลว์คอสต์เส้นทางบินระยะกลางและไกลถือเป็นตลาดใหม่ที่น่าสนใจ และมีแผนเปิดให้บริการนกสกู๊ตในช่วงปลายไตรมาส 3 หรือต้นไตรมาส 4 ตามแผน 5 ปีแรกได้เตรียมเช่าเครื่องบินโบอิ้ง 777 จำนวน 7 ลำ ลำแรกจะเข้ามาในปีนี้ ตามด้วยลำที่ 2 ในปีหน้า เส้นทางที่สนใจจะบินนั้นมีทั้งญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง และปักกิ่ง (จีน) ซึ่งดีมานด์ทั้งฝั่งไทยและ 4 เดสติเนชั่นนี้ดีมาก

"นกสกู๊ตและไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ จะช่วยเพิ่มปริมาณที่นั่งผู้โดยสารในตลาดเอเชียเหนือได้มากขึ้น อย่างเส้นทางญี่ปุ่น คาดว่าทั้ง 2 สายการบินจะช่วยเพิ่มที่นั่งในตลาดอีก 15% ส่วนราคาตั๋วบินนั้นจะต้องตั้งแบบคุ้มค่า เพื่อกระตุ้นดีมานด์ให้ดีต่อเนื่อง และถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่คนไทยจะได้บินไปแถบเอเชียเหนือ ซึ่งเป็นเดสติเนชั่นยอดนิยมของคนไทย" นายพาทีกล่าว

"ไทยไลอ้อนแอร์" รอจังหวะลุย

นายนำพล รุ่งสว่าง ผู้จัดการแผนการขายและการตลาด บริษัท ไทย ไลอ้อน เมนทารี จำกัด ผู้บริหารสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ไทยไลอ้อนแอร์สนใจทำการบินในเส้นทางระยะไกล เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เนื่องจากแนวโน้มตลาดนี้ดีมานด์สูง โดยเฉพาะตลาดคนไทยที่นิยมเดินทางไปท่องเที่ยวโซนเอเชียตะวันออกเป็นจำนวนมาก และจะเห็นได้จากปีนี้ สายการบินโลว์คอสต์ทั้งไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์และนกสกู๊ต ที่หันมาให้ความสำคัญกับตลาดนี้ สำหรับไทยไลอ้อนแอร์เตรียมจะให้บริการในเส้นทางลองฮอล คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายใน 2 ปีนับจากนี้ หรือราวปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่ไทยไลอ้อนแอร์จะมีฝูงบินรวม 20 ลำ เพื่อมาขยายเน็ตเวิร์กเส้นทางบินทั้งในและระหว่างประเทศให้แข็งแกร่งมากขึ้น

สำหรับปีนี้หลัก ๆ บริษัทจะเน้นแผนขยายการลงทุนระยะยาวในไทยต่อเนื่อง และจะทยอยรับมอบเครื่องบินเฉลี่ยเดือนละ 1 ลำ ทำให้ปีนี้ไทยไลอ้อนแอร์จะมีเครื่องบินรวม 12-13 ลำ และนอกจากฐานการบินที่ดอนเมือง ตอนนี้บริษัทพยายามผลักดันให้หาดใหญ่เป็นศูนย์กลางหรือฮับทางการบินอีกแห่ง โดยจะนำเครื่องบินเอทีอาร์มาทำการบินในเส้นทางหาดใหญ่-สุราษฎร์ธานี, หาดใหญ่-หัวหิน, หาดใหญ่-สุบังจายา ประเทศมาเลเซีย และหาดใหญ่-เมดาน ประเทศอินโดนีเซีย ส่วนเส้นทางภายในประเทศเส้นทางอื่น ๆ บริษัทได้เพิ่มความถี่เที่ยวบินเส้นทางยอดนิยม เช่น ดอนเมือง-เชียงใหม่ เป็น 5 เที่ยวบินต่อวัน ดอนเมือง-หาดใหญ่ 4 เที่ยวบินต่อวัน และภายในปีนี้จะเปิดเส้นทางบินหลัก ๆ ครบทั้งหมด อาทิ ดอนเมือง-อุบลราชธานี, ดอนเมือง-อุดรธานี, ดอนเมือง-เชียงราย และดอนเมือง-สุราษฎร์ธานี

สำหรับเส้นทางบินระหว่างประเทศ นอกจากดอนเมืองไปมาเลเซียและอินโดนีเซียแล้ว ภายในปีนี้จะเพิ่มเส้นทางบินจากดอนเมืองไปฮ่องกง, สิงคโปร์, มาเก๊า รวมไปถึงจีนใน 2-3 เมือง ได้แก่ กว่างโจว เสิ่นเจิ้น และอู่ฮั่น รองรับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ชื่นชอบการมาเที่ยวเมืองไทย

วงการชี้สะเทือนการบินไทย

ผู้คร่ำหวอดในธุรกิจสายการบินตั้งข้อสังเกตในเรื่องนี้ว่า การเกิดขึ้นของสายการบินโลว์คอสต์ ตลาดบินระยะกลาง-ไกล ทั้งไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ และนกสกู๊ต ที่มีแผนจะเปิดบริการดังกล่าว รวมถึงไทยไลอ้อนแอร์ก็มีแผนดังกล่าวภายใน 2 ปี จะเป็นการเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดของสายการบินพรีเมี่ยม โดยเฉพาะสายการบินไทย ที่มีตลาดหลักคือเส้นทางบินไปญี่ปุ่น และเป็นเส้นทางสร้างรายได้หลักให้กับการบินไทย

ขณะที่นายโชคชัย ปัญญายงค์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส สายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า การที่มีสายการบินโลว์คอสต์เตรียมลงแย่งเค้กตลาดญี่ปุ่นมากขึ้น มองว่าตลาดที่น่าจะตอบสนองได้ดีสุดคือคนไทย เพราะมีพฤติกรรมชื่นชอบตั๋วบินราคาประหยัด อย่างไรก็ตาม สำหรับตลาดคนญี่ปุ่นแล้วส่วนใหญ่นิยมใช้บริการสายการบินพรีเมี่ยม ซึ่งเส้นทางบินไทย-ญี่ปุ่น การบินไทยมีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด ปัจจุบันบินไป 5 เมือง ได้แก่ โตเกียว, โอซากา, ฟูกูโอกะ, นาโกย่า และซัปโปโร

แหล่งข่าวในวงการธุรกิจการบินรายหนึ่งกล่าวว่า การเปิดตัวของโลว์คอสต์ลองฮอล ทั้งไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ และนกสกู๊ต ได้สร้างความตื่นตัวและเป็นที่จับตามองจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศอย่างมาก เนื่องจากธรรมชาติของสายการบินโลว์คอสต์ซึ่งปกติราคาตั๋วบินจะถูกกว่าสายการบินพรีเมี่ยมไม่ต่ำกว่า 30% ที่สำคัญเชื่อว่ากลยุทธ์หลักของสายการบินเหล่านี้จะยังคงใช้จุดขายด้านราคาถูกเช่นเดียวกับโลว์คอสต์ระยะสั้นออกมาเป็นระยะแน่นอน

"อย่างโปรโมชั่นของไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ในช่วงเปิดตัวเส้นทางกรุงเทพฯ-ญี่ปุ่นที่วางไว้ก่อนหน้านี้และมีการโพสต์ในเว็บต่าง ๆ เริ่มต้นเพียงแค่ 1,990 บาทต่อเที่ยวเท่านั้น แต่ล่าสุดจะออกมาเท่าไหร่นั้นคงต้องรอโปรโมชั่นอย่างเป็นทางการอีกครั้งในช่วงปลายเดือนนี้" แหล่งข่าวกล่าว

------------------------------------------------------------------------

บทบาทใหม่ "พาที สารสิน" ดัน "นกสกู๊ต" ร่วมวงโลว์คอสต์

updated: 16 เม.ย 2557 เวลา 17:41:07 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เป็น ที่แน่นอนแล้วว่า "นกสกู๊ต" ที่สายการบินนกแอร์ผนึกกับสายการบินราคาประหยัด "สกู๊ต" ในเครือสิงคโปร์ แอร์ไลน์สไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมานั้น ได้เตรียมแจ้งเกิดสายการบินราคาประหยัดน้องใหม่ในประเทศไทยอีก 1 สายการบินในช่วงปลายไตรมาส 3 ปีนี้แน่นอน
พร้อมทั้งแผนบุกขยายตลาดใน เซ็กเมนต์บินระยะกลาง-ไกล หลังจากที่ "นกแอร์" ได้เปิดให้บริการมาได้ 10 ปีภายใต้กลยุทธ์หลักการเจาะบินเมืองเล็กเมืองรองเสริมทัพเมืองหลัก กระทั่งมียอดผู้โดยสารปัจจุบันถึง 7-8 ล้านคนแล้ว

"พาที สารสิน" ซีอีโอนกแอร์เล่าว่า เหตุผลที่จับมือกับสกู๊ตนั้น เพราะเป็นสายการบินที่มี "ดีเอ็นเอ" ของแบรนด์คล้าย ๆ กัน เรียกได้ว่า "เคมี" ตรงกันอย่างมาก และมองว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะเข้ามาเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายของอีกฝ่าย พร้อมลดความเสี่ยงในการลงทุนฝ่ายละครึ่ง

โดย นกแอร์ไม่มีโนว์ฮาวในการทำตลาดการบินระยะกลาง-ไกล ต้นทุนการศึกษาตลาดนี้ก็แพง ขณะที่สกู๊ตเป็นแบรนด์ที่มีคนรู้จักและเชี่ยวชาญในตลาดนี้เป็นอย่างดี และมีความพร้อมเรื่องเครื่องบินและพร้อมจะให้ "นกสกู๊ต" เช่าบิน รวมถึงการซ่อมบำรุงเครื่องบิน ซี่งปัจจุบันสกู๊ตมีฝูงบิน โบอิ้ง 777-200s จำนวน 6 ลำ บิน 13 เส้นทางใน 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้

ส่วนจุดที่นกแอร์สามารถเติมเต็มสกู๊ตได้ก็คือ ฐานปฏิบัติการบินของสกู๊ตปัจจุบันตั้งอยู่ในสิงคโปร์ซึ่งเป็นเมืองที่เล็ก มาก จุดเด่นคือการแวะเปลี่ยนเครื่องเท่านั้น ซึ่งมีคู่แข่งสายการบิ นพรีเมี่ยมให้บริการมากแล้ว แต่ถ้าสกู๊ตเพิ่มจุดยุทธศาสตร์ทางการบินอีกแห่งที่ "กรุงเทพฯ" จะมีโอกาสได้ตลาดนักท่องเที่ยวอย่างมาก

การผนึกกับ "สกู๊ต" ครั้งนี้ นกแอร์จึงตั้งเป้าหมายอย่างสูงว่าจะประสบความสำเร็จ สำหรับ โครงสร้างการลงทุนนั้น บริษัทร่วมทุนของสายการบิน "นกสกู๊ต" จะใช้ทุนจัดตั้ง 2,000 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนการถือหุ้นเป็นบริษัท "Scoot Pte." ฝั่งสิงคโปร์ 49% ส่วนการถือหุ้นอีก 51% เป็นฝั่งไทยตามกฎหมายการลงทุนในไทย

โดยตามแผน 5 ปี นกสกู๊ตจะมีเครื่องบินทั้งหมด 7 ลำ เริ่มต้นมี 1 ลำแรกในปีนี้ และเพิ่มเป็น 2 ลำในปี 2558 ซึ่งในช่วง 3 ปีแรกที่เริ่มให้บริการอาจจะยังไม่มีกำไร แต่หลังจากนั้นเชื่อว่ามีกำไรแน่ เนื่องจากบริษัทไม่ได้ลงทุนหนัก เพราะเน้นเช่าเครื่องบินเป็นหลัก

"พาที" ระบุว่า "คีย์ซักเซส" ของการทำตลาดเที่ยวบินระยะกลาง-ไกล คือ 2 เมืองที่เป็นจุดหมายปลายทางของเส้นทางบินนั้น ๆ จะต้องมีผู้โดยสารของตัวเอง ไม่ใช่พึ่งพิงผู้โดยสารจากเมืองใดเมืองหนึ่ง

นกแอร์เรียนรู้ข้อนี้ จากเส้นทางกรุงเทพฯ-บังคาลอร์ (อินเดีย) ที่ต้องยกเลิกบินไปเมื่อปี 2550 เพราะมีดีมานด์บินเฉพาะฝั่งบังคาลอร์เท่านั้น

ทั้งนี้ เดสติเนชั่นที่นกสกู๊ตสนใจบินไปในช่วงเริ่มแรกคือ ตลาดแถบเอเชียเหนือ คือ ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ฮ่องกง และจีน และสกู๊ตเองก็รู้จักตลาดเหล่านี้เป็นอย่างดี ทำให้ "นกสกู๊ต" ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ทั้งยังเป็นโอกาสสำคัญของนกแอร์ในการไปสร้างแบรนด์ที่เอเชียเหนือด้วย

สำหรับ ในส่วนของ "นกแอร์" เองนั้น ปีที่แล้วมีกำไร 1,066 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 100% จากปีก่อนหน้า สำหรับปีนี้การเติบโตด้านรายได้ อาจโตไม่ถึงเป้า 20% ที่วางไว้ เพราะได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองในช่วงไตรมาสแรก

ปัจจุบันมีฝูงบิน 16 ลำ เป็นโบอิ้ง 737-800 ความจุ 186-189 ที่นั่ง 14 ลำ และเอทีอาร์ 72-500 ความจุ 66-72 ที่นั่ง 2 ลำ และเตรียมรับมอบเครื่องบินเพิ่มอีก 6 ลำ เพิ่มเป็น 22 ลำในปีนี้ เพื่อเป็นการเตรียมรองรับเส้นทางบินใหม่และการเพิ่มความถี่เที่ยวบินในอีก 2-3 ปีข้างหน้า และเร็ว ๆ นี้ยังมีแผนเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตไวไฟบนเครื่องบิน ซึ่งจะทำให้ "นกแอร์" เป็นสายการบินโลว์คอสต์รายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เทียบชั้นสายการบินระดับพรีเมี่ยม...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น